บทคัดย่อ
แผนงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย และ โครงการย่อยที่2 การพัฒนาตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย สำหรับการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย และวัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาการตลาดสำหรับข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยได้แบ่งกลุ่มประชากรและตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู ในเขตอาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จานวน 247 คน กลุ่มผู้บริโภค จานวน 400 คน กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร และกลุ่มนักการตลาดและนักสื่อสารการตลาด จานวน 20 คน ในจังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ในการวิจัย ข้อมูลปริมาณใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าร้อยละ (percentage) และค่าความถี่ (frequency) และการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาการยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย ซึ่งแผนงานวิจัยได้พัฒนาเครือข่ายกลุ่ม พัฒนาคุณภาพของห่วงโซ่อุปทานการปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู พัฒนาระบบควบคุมคุณภาพภายในกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย ตลอดจนการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อรักษาพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย ให้คงบริสุทธิ์ของความเป็นข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย ผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู อาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อรวมกันขับเคลื่อนและยกระดับการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู สายพันธุ์ G.S. No. 8974 หรือข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย สร้างมาตรฐานการเพาะปลูกเพื่อให้ได้คุณภาพผลผลิตที่เป็นที่ยอมรับ มีการกาหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกิจกรรมในการขับเคลื่อนของเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพห่วงโซ่อุปทานการปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย และมีการพัฒนากลุ่มเกษตรกรต้นแบบ คือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปข้าวปลอดภัยแบบยั่งยืนแม่จัน” เพื่อเป็นการนาร่องในการใช้แนวทางดังกล่าว และเพื่อขยายผลให้แก่กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ ในเครือข่ายผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกในเครือข่ายฯ ร่วมกัน ในส่วนการรักษาและคงความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดทามาตรฐานการเพาะปลูกเพื่อยื่นของใช้สิทธิ์เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications : GI) ของข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นการรับรองความบริสุทธิ์ของผลผลิตและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงรายที่กลุ่มได้ทาการผลิต
สำหรับพัฒนาการตลาดสำหรับข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย ซึ่งในแผนการวิจัยได้พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงรายและการพัฒนาการสื่อสารการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยในครั้งนี้ ได้ทาการปรับปรุงตราสินค้าของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเงี้ยวงู และระบุกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคที่ซื้อ เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกาลังซื้อสูง เป็นผู้มีรายได้ปานกลางถึงมีรายได้สูง อีกทั้งเป็นผู้ใส่ใจสุขภาพและมีความพิถีพิถันในการด้านบริโภคอาหาร สำหรับบุคลิกภาพของตราสินค้าที่ปรับปรุง (Brand Personality) สะท้อนถึงบุคลิกภาพจริงใจ (Sincerity) ผลิตข้าวเหนียวที่มีประโยชน์ผ่านกระบวนการที่เต็มไปด้วยความจริงใจและความใส่ใจของเกษตรกร ทาให้ได้ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยเหมาะกับผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพและพิถีพิถันด้านการบริโภคอาหาร ในส่วนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เน้นรูปแบบมีความทันสมัย และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภค และสามารถนาไปเป็นของฝากหรือของขวัญตามเทศกาลและเป็นของฝากประจาจังหวัดเชียงรายในด้านการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดตราสินค้าข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในวงกว้างของข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย โดยการพัฒนาเนื้อหาสื่อที่มุ่งเน้นให้สนใจและดึงดูดใจให้เกิดความต้องการบริโภคข้าวเหนียวเขี้ยวงูในรูปแบบต่าง ๆ การสร้างความเข้าใจในกระบวนการแปรรูปข้าวเหนียวเขี้ยวงูในรูปแบบอาหารหวานหรือของว่างแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อ 3 รูปแบบคือ1) สื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟฟิกเพื่อนาเสนอเรื่องราวผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อสังคม (Social Media) บอกเล่าเรื่องราว (story) ความเป็นมาของข้าวเหนียวเขี้ยวงู 2) การสื่อสารผ่านสื่อสังคมบล็อกเกอร์ (Blogger) เพื่อรีวิว (Review) หรือแนะนาผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปจากข้าวเหนียวเขี้ยวงูโดยผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคม (Influencer) ด้านอาหาร และ 3) การจัดกิจกรรมและจัดแสดงสาธิตสินค้า