บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางยกระดับและลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจและสังคม
ของชาวนาไทย คณะผู้วิจัยได้จ้าแนกการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การ
เปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนชาวนา และการวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) การวิเคราะห์
ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เชื่อมโยงระหว่างภาคการเกษตรและปัจจัยด้านเศรษฐกิจการเกษตร รวมถึงประมาณ
การผลกระทบของราคาข้าวต่อรายได้ของครัวเรือนชาวนาไทยและ 3) การวิเคราะห์ “ทักษะ”ที่จ้าเป็นต่อการ
เป็นชาวนาในอนาคตและสามารถรองรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในสังคมในอดีตที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีบทบาทส้าคัญในการพัฒนาภาคเกษตรของไทยเริ่มจากเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การใช้เครื่องจักรกลเพื่อลดและทดแทนแรงงาน และล่าสุดคือเทคโนโลยีดิจิทัล แม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การใช้และการยอมรับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวยังไม่แพร่หลายนัก สาเหตุน่าจะมาจากการยึดติดกับวิธีการแบบดั้งเดิมของชาวนาส่วนใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุและการประหยัดต่อขนาดที่อาจไม่คุ้มทุนส้าหรับชาวนารายย่อยซึ่งมีอยู่เป็นจ้านวนมาก ขณะที่นโยบายของรัฐที่ผ่านมาสามารถจ้าแนกได้เป็นนโยบายที่เกี่ยวกับราคาและที่ไม่เกี่ยวกับราคา เป็นที่ค่อนข้างแน่ชัดว่านโยบายที่ไม่เกี่ยวกับราคาโดยเฉพาะการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีผ่านการวิจัยและฝึกอบรมน่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว
ต่อชาวนามากกว่า ส่วนนโยบายที่เกี่ยวกับราคาซึ่งรัฐบาลหวังว่าจะเป็นเครื่องมือในการยกระดับรายได้ของ
ชาวนากลับไม่ประสบผลส้าเร็จตามที่คาดและเป็นภาระทางการคลังอีกด้วย
ส้าหรับผลการวิเคราะห์ผลกระทบราคาข้าวต่อครัวเรือนชาวนาพบว่าการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวส่งผลให้
ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปทานข้าวที่เพิ่มขึ้นมานี้เกิดจากผลผลิตข้าวนาปรังซึ่งเป็น
ผลผลิตข้าวส่วนน้อยของผลผลิตข้าวที่ประเทศไทยผลิตได้ เนื่องจากการปลูกข้าวนาปรังเป็นการปลูกข้าวนอก
ฤดูกาล ชาวนาสามารถเพิ่มการผลิตด้วยการเพิ่มจ้านวนรอบการปลูก ขณะที่ผลการวิเคราะห์ยังพบว่าราคา
ข้าวส่งผลให้รายได้ครัวเรือนชาวนาเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ราคาข้าวส่งผลให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นในระยะสั้น (ช่วง
ที่ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น) แต่ปริมาณข้าวที่เพิ่มขึ้นจากชาวนาที่เร่งเพาะปลูกข้าวโดยมิได้ค้านึงถึงคุณภาพข้าวส่งผล
เสียต่อโครงสร้างการผลิตข้าวได้ในระยะยาว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมหภาคที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานภาคการเกษตรและปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจการเกษตรด้วยวิธีทางเศรษฐมิติที่เป็นอนุกรมเวลาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางเศรษฐกิจ
ภาคการเกษตรมีผลต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของจ้านวนแรงงานภาคเกษตรค่อนข้างเป็นไปอย่างมีรูปแบบ
โดยการเปลี่ยนแปลงขึ้น/ลงของผลจากการส่งผ่านสะท้อนถึงความผันผวนตามฤดูกาลที่เกิดขึ้น ในส่วนการ
วิเคราะห์ข้อมูลระดับจุลภาคพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนชาวนาแตกต่างกันไปตามจังหวัดและกลุ่ม
ควินไทล์ของครัวเรือนชาวนา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านการศึกษาและจ้านวนสมาชิกในครัวเรือนส่งผลให้
รายได้ครัวเรือนชาวนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติในทุกจังหวัด ส่วนปัจจัยด้าน Smart Technology ซึ่ง
วัดด้วยสัดส่วนจ้านวน Smartphone/Laptop/Tablet ต่อสมาชิกครัวเรือนชาวนาส่งผลต่อรายได้ครัวเรือน
ชาวนาในทิศทางตรงกันข้าม
ทักษะของชาวนาในอนาคตประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่ส้าคัญ 1. ทักษะหลัก (Hard Skills) ได้แก่ ทักษะ
ด้านดิจิทัล ทักษะด้านการใช้เครื่องจักรกล และทักษะด้านการตลาด การเงิน และการท้าบัญชี และ 2. ทักษะ
เสริม (Soft Skills) ได้แก่ การปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันของชาวนา การจัดการความเสี่ยงและ
ความไม่แน่นอนในกระบวนการผลิตทางการเกษตร และการเรียนรู้ตลอดชีวิตและความคล่องตัว ส้าหรับ
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาทักษะชาวนาสามารถท้าได้หลายวิธีด้วยความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน และตัวชาวนาเองไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวนาโดยตรงหรือการถ่ายทอดทักษะและ
ความรู้ผ่านตัวแทนจ้าหน่ายเครื่องจักรกลของบริษัทเอกชน การหาความรู้ด้วยตนเองของชาวนาผ่านเครื่องมือ
สื่อสารในปัจจุบัน การด้าเนินการผ่านชาวนาต้นแบบ และชาวนารายใหญ่ช่วยชาวนารายย่อย
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี 4.0 และพัฒนาทักษะชาวนาไทยต้องอาศัยพึ่งพาการบูรณาการระหว่าง
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สตาร์ทอัพ ภาคท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาชาวนาในแต่ละกลุ่ม หรือ
แม้แต่การพึ่งพาชาวนาด้วยกันเอง เช่น ชาวนารายใหญ่ที่มีความพร้อมด้านเศรษฐกิจและมีความสามารถเข้ามา
ให้บริการเครื่องจักรกลเกษตรแก่ชาวนารายอื่น ๆ ในพื้นที่ (ใหญ่ ช่วย ย่อย) โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามามี
บทบาทในการก้ากับ ดูแล ให้บริการอย่างเป็นธรรม การด้าเนินการเช่นนี้จะช่วยพัฒนาชาวนาให้สามารถเข้า
ใกล้การเป็นชาวนา 4.0 ได้ในที่สุด