เจ้าของข้อมูล :
ธนู ทัฬหกิจ , www.technologychaoban.com
สาระสังเขป :
ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย และอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน มีความสำคัญทั้งในด้านการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม แต่ขั้นตอนในการปลูกข้าวบางขั้นตอนกลับส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ข้าวถูกปลูกอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการหมักหมมของเศษซากพืชในปริมาณมาก และเมื่อย่อยสลายจะปลดปล่อยก๊าซมีเทน ที่เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ รวมถึงการเผาตอซังข้าวหลังการปลูกข้าว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น การหาแนวทางในการปลูกข้าวที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายการเกษตรยั่งยืน ที่เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวให้เกิดความยั่งยืน โดยได้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ข้าวยั่งยืน (มกษ. 4408-2565) ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตข้าวอย่างยั่งยืน แก่เกษตรกรตลอดห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่การคุ้มครอง
คุณธนู ทัฬหกิจ “เกษตรกรรักษ์โลก” ประธานกลุ่มข้าวยั่งยืน บ้านดอนหมู อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เข้าร่วมมาตรฐานข้าวยั่งยืนเมื่อปี พ.ศ. 2562 ทำการปลูกข้าวส่งให้ศูนย์เมล็ดพันธ์ุข้าวจังหวัดอุบลราชธานีเป็นหลัก คุณธนูมองว่ามาตรฐานข้าวยั่งยืน เป็นมาตรฐานที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่สมควรที่จะละเลย
ส่วนข้อกำหนดทั้ง 10 ข้อ จะมีอะไรบ้างนั้น สามารถรับชมเนื้อหาได้ในคลิปวิดีโอนี้