บทคัดย่อ :
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้อาหารเกสรเทียมต่อประสิทธิภาพการผลิตตัวอ่อนผึ้งพันธุ์(Apis mellifera L.)เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหารโปรตีนทางเลือกอาหารเกสรเทียมมีส่วนประกอบของวัตถุดิบโปรตีนหลัก4 ชนิดได้แก่หางนมยีสต์แป้งถั่วเหลืองและไข่เพื่อผสมกับน้ําตาล30.0% แร่ธาตุและวิตามินเพื่อให้มีค่าโภชนาการของโปรตีน16.0% อาหารดังกล่าวนี้(T2) ใช้เสริมเลี้ยงให้แก่ผึ้งพันธุ์อย่างต่อเนื่องในรังผึ้งมาตรฐานขนาด8 คอนที่มีจํานวนผึ้งพันธุ์ตัวเต็มวัยเฉลี่ย4,000 ตัวเป็นระยะเวลา30 วันเปรียบเทียบกับรังผึ้งพันธุ์ควบคุมที่ไม่ได้รับอาหารเสริม(T1) และรังผึ้งพันธุ์ที่ได้รับอาหารเชิงทางการค้า(T3)ผลการทดลองพบว่าผึ้งพันธุ์ที่ได้รับอาหารเกสรเทียม(T2)มีค่าเฉลี่ยของจํานวนประชากรผึ้งงานเพิ่มขึ้น7.89±1.52% ในขณะที่ชุดควบคุมที่ไม่ได้ให้อาหารเสริม(T1) และผึ้งพันธุ์ที่ได้รับอาหารเสริมสูตรทางการค้า(T3) มีค่าเฉลี่ยของประชากรผึ้งงานลดลงเป็น15.77±3.89และ22.45±6.41% ตามลําดับการวิเคราะห์โภชนาการตัวอ่อนผึ้งพันธุ์พบว่ามีสัดส่วนที่บริโภคได้มากกว่า90% โปรตีนเฉลี่ย40% โดยมีกรดอะมิโนจําเป็นชนิดทรีโอนีน (1.27±0.01%)วารีน (1.67±0.01%)ฟีนิลอะลานีน(1.05±0.01%)และArginine (0.31±0.01%)ค่อนข้างสูงในขณะที่กรดแอสปาร์ติก (0.58±0.01%) ไอโซลูซีน (0.85±0.01%) และอาร์จินีน(0.31±0.01%) ค่อนข้างต่ํานอกจากนี้ตัวอ่อนผึ้งมีไขมันค่อนข้างสูงเฉลี่ย29.83% ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งโดยการให้อาหารเสริมที่เหมาะสมจึงสามารถนํามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงตัวอ่อนผึ้งได้โดยเฉพาะในพื้นที่หรือฤดูกาลที่ขาดแคลนอาหารผึ้งได้
ผลงานวิจัยโดยสรุป :
สรุปผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การผลิตอาหารเกสรเทียมที่มีโภชนาการที่เหมาะสม คือ อาหารผสมที่มีสัดส่วนของโปรตีนเฉลี่ย 16.0%และ น้ําตาลเฉลี่ย 30.0%สามารถนําไปใช้เป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัวอ่อนผึ้งที่ผลิตได้มีคุณค่าทางอาหารสูงไม่ต่างจากแมลงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สามารถใช้บริโภคเป็นอาหารมนุษย์ ผลการศึกษานี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้เกษตรกรสามารถใช้ผลิตอาหารเกสรเทียมสําหรับเลี้ยงผึ้งพันธุ์ได้