หมดยุคที่เราจะปล่อยให้มีของเสียเหลือทิ้ง! รู้จักโครงการ “Waste No More สานต่อความยั่งยืน” ไอเดียสร้างสรรค์ของพนักงานธุรกิจสุกร CPF สู่กระบวนการเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นของดี สร้างประโยชน์ให้เกษตรกรไทย ทำให้ธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ได้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
ในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาที่หลายองค์กรเล็งเห็นถึงความสำคัญ ก็คือการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่ง ‘CPF’ ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้อย่างมาก
วันนี้เลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักโครงการดีๆ อย่าง “Waste No More สานต่อความยั่งยืน” ที่ร่วมสร้างสรรค์โดยบุคลากรของธุรกิจสุกร CPF ในประเทศไทย ที่อยากจะทำให้ทั้งธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนจริงๆ
โครงการ “Waste No More สานต่อความยั่งยืน” เริ่มต้นขึ้นจากการที่บุคลากรของ CPF ต่างมองเห็นถึงมูลค่าจากของเสียที่เคยถูกทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ จึงสรรหานวัตกรรมและเทคโนลียีมาปรับเปลี่ยนของเสียเหล่านั้นให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก นับเป็นแนวทางการเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นของดี จนเกิดเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ ทั้ง 4 ดี ได้แก่ เถ้าดี น้ำปุ๋ยดี แก๊สดี และกากตะกอนดี
“เถ้าดี Feed สู่ Farm”
คือการเปลี่ยนขี้เถ้าจากเตาเผาชีวมวล สู่ขี้เถ้าสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียแทนการใช้ปูนขาวในฟาร์มสุกร ช่วยให้เกษตรกรในแต่ละฟาร์ม ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปูนขาวได้ถึงกว่า 3 แสนบาทต่อปี แถมเกษตรกรไม่ต้องทนกับอาการแสบตาแสบมือเวลาใช้ปูนขาวด้วย
“น้ำปุ๋ยดี สู่เกษตรกร”
บำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำปุ๋ย ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรในการซื้อปุ๋ยเคมี และช่วยลดการใช้น้ำเพื่อให้เกษตรกรสามารถผ่านพ้นวิกฤติในช่วงภัยแล้งด้วย
“แก๊สดี สู่ชุมชน”
เป็นแนวคิดจากฟาร์มสุกรใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย นำแก๊สที่ได้จากมูลสุกร ส่งต่อเป็นแก๊สหุงต้มที่ใช้กันในชุมชนกว่า 30 ครัวเรือน
“กากตะกอนดี สู่เกษตรกร”
เปลี่ยนกากตะกอนที่ยังมีแร่ธาตุให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 50% สร้างรายได้จากผลผลิตได้เยอะขึ้น และมีรายได้เสริมจากการขายปุ๋ยกากตะกอนด้วย
แม้จะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานธุรกิจสุกร แต่โครงการ Waste No More ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ซึ่งทำให้ทั้งภาคธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ได้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน