บทคัดย่อ
โครงการการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมระบบการผลิตเนื้อโคขุนจากโคนมเพศผู้ตอนชุมชนต้นแบบเกษตรกรอาชีพเลี้ยงโคขุนคุณภาพ การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตอาหารหมักสาเร็จรูปได้ออกแบบกระบวนการผลิตและวิเคราะห์สูตรอาหารที่มีสัดส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ คุณค่าทางโภชนะ และราคาที่เหมาะสมกับช่วงอายุโคนมเพศผู้ ประกอบด้วยสูตรอาหารระยะก่อนหย่านมและระยะเตรียมขุน(growing phase) คุณภาพอาหารหมักสำเร็จที่ได้จากกระบวนการหมักทั้งด้านกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารหมักที่ดีเยี่ยม องค์ความรู้ที่ได้ควรนำไปพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการให้อาหารสัตว์เชิงพาณิชย์ ผลการพัฒนาระบบการผลิตฝูงโคขุนลูกผสมโคนมเพศผู้เริ่มจากระยะเล็ก (แรกเกิดไปจนถึงหย่านม อายุ 1 ถึง 90 วัน) รุ่น (อายุ 90 ถึง 180 วัน) และเตรียมขุน (อายุ 180 ถึง 270 วัน) ลูกโคและโคเตรียมขุนที่ได้มีค่าเฉลี่ยสายพันธุ์ลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซี่ยนร้อยละ 93.8 อัตราการเลี้ยงรอดร้อยละ 96.4 น้าหนักเฉลี่ยแรกเกิด 31.1 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยวันละ 0.54, 0.99 และ 1.12 กิโลกรัม ตามลำดับ ได้โคนมเพศผู้ระยะเตรียมขุนที่มีสุขภาพดี แข็งแรง โดยมีน้าหนักโคมีชีวิตเฉลี่ย 79.5, 168.7 และ 276.9 กิโลกรัม ตามลาดับ พร้อมเข้าสู่ระบบการเลี้ยงขุนในระยะต่อไป การทดสอบสูตรอาหารหมักสำเร็จรูปในโคนมเพศผู้ระยะรุ่นสามารถใช้กากแป้งมันสำปะหลังสดทดแทนฟางข้าวในสูตรอาหารหมักสำเร็จรูปได้ในสัดส่วนที่เหมาะสมไม่ควรเกินร้อยละ 45 เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะ ปริมาณการกินได้อย่างอิสระ การย่อยได้ พฤติกรรมการกินอาหาร สมรรถนะทางการเจริญเติบโต และการลดปริมาณการปล่อยแก๊สมีเทนของของโครุ่นลูกผสมโคนมเพศผู้ ควรศึกษาชนิดและปริมาณการใช้ผลพลอยได้จากการเกษตร และเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมในสูตรอาหารหมักสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนธุรกิจการผลิตโคขุนลูกผสมโคนมเพศผู้ ซึ่งจะเกิดการสร้างงาน รายได้ ความมั่นคงทางอาหารปลอดภัย สูไทยแลนด์ 4.0
คำสำคัญ: โคขุน, โคนมเพศผู้ตอน, เกรดคุณภาพเนื้อ, อาหารหมักสำเร็จรูป