บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการโปรตีนและพลังงานของโคนมทดแทนฝูงที่อายุ 22 เดือน (ช่วงน้าหนักตัว 500-600 กิโลกรัม) สำหรับจัดทาคู่มือความต้องการโภชนะของโคนมในประเทศไทย ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2562 โดยใช้โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน สายเลือดมากกว่า 87.5 % ขึ้นไป อายุประมาณ 20 เดือน เพศเมีย น้าหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 514.3 กิโลกรัม เลี้ยงในคอกขังเดี่ยว เพื่อเก็บข้อมูลด้าน Feeding trial ดูผลของอาหารที่มีต่อการเจริญเติบโต ในช่วงอายุ 20-22 เดือน วางแผนการทดลอง Randomized Complete Block Design (RCBD) ใช้โคทดลองจานวน 16 ตัว แบ่งโคตามขนาดน้าหนักตัวออกเป็น 4 ซ้าๆละ 4 ตัว ทาการสุ่มโคแต่ละซ้าให้ได้รับอาหารผสมครบส่วนที่มีสัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้น (R:C) เท่ากับ 55:45 ที่มีโปรตีนหยาบ (CP) 14.0 เปอร์เซ็นต์ มีพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (ME) 2.56 Mcal/kg ตามความต้องการเพื่อการเจริญเติบโตแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 500 700 900 และ 1,100 กรัมต่อตัวต่อวัน และทาการทดสอบด้าน Metabolism trial โดยทาการทดสอบในช่วงท้ายของแต่ละช่วงอายุที่กาหนด (อายุ 22 เดือน) ตามแผนการทดลองเดิม เก็บข้อมูลครั้งละ 4 ตัว รวม 4 ครั้ง ๆ ละ 16 วัน เป็นระยะปรับโคทดลอง 10 วัน และเก็บข้อมูล 6 วัน เก็บรวบรวมมูลและปัสสาวะทั้งหมด ควบคู่ไปกับการวัดปริมาณก๊าซที่ใช้ในการหายใจ (ออกซิเจน) และก๊าซที่ปล่อยออกจากตัวโค (คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน) ด้วยชุดวัดค่าการหายใจระบบเปิด เพื่อนามาประเมินค่าความต้องการพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (ME) เมื่อโคได้รับอาหารเพื่อการเจริญเติบโตต่างกัน 4 ระดับ
จากการทดลองเลี้ยงโคนมทดแทนฝูง ในช่วงอายุ 20-22 เดือน ให้ได้รับปริมาณอาหารแตกต่างกัน 4 ระดับ พบว่า โคทั้ง 4 กลุ่มได้รับปริมาณอาหาร เมื่อคิดเป็นน้าหนักแห้งต่อวัน และเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้าหนักตัว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) รวมทั้งปริมาณโปรตีนหยาบที่ได้รับเมื่อคิดเป็นน้าหนักแห้งต่อวันก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ได้รับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งจะทาให้เจริญเติบโตได้เฉลี่ยวันละ 966 กรัม โดยมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานรวมที่กินได้เป็นพลังงานความร้อนที่ขับออก (HP/GEI) ในสัดส่วนที่ต่า เท่ากับ 0.54 kcal/kg.DM โคที่ได้มีคะแนนรูปร่าง (Body score) เท่ากับ 4.58 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีรูปร่างสวยงามสำหรับโคสาวท้อง
สมการความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างค่าอัตราการเจริญเติบโตของโคกับปริมาณพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่ได้รับต่อวัน สามารถทานายได้ว่าโคที่น้าหนัก 500 กิโลกรัม ที่มีอัตราการเจริญเติบโต 0 500 700 900 และ 1,100 กรัมต่อวัน มีความต้องการปริมาณพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้วันละ 13.69 18.94 21.04 23.14 และ 25.25 เมกกะแคลอรี่ ตามลาดับ ส่วนโคที่น้าหนัก 550 กิโลกรัม มีความต้องการปริมาณพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้วันละ 15.06 20.84 23.15 25.46 และ 27.77 เมกกะแคลอรี่ ตามลาดับ และโคที่น้าหนัก 600 กิโลกรัม มีความต้องการปริมาณพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้วันละ 16.43 22.73 25.25 27.77 และ 30.29 เมกกะแคลอรี่ ตามลาดับ
สมการความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างค่าอัตราการเจริญเติบโตกับปริมาณโปรตีนหยาบที่ได้รับต่อวัน สามารถทานายได้ว่าโคที่น้าหนัก 500 กิโลกรัมที่มีอัตราการเจริญเติบโต 0 500 700 900 และ 1,100 กรัมต่อวัน มีความต้องการปริมาณโปรตีนหยาบวันละ 632 875 972 1,069 และ 1,166 กรัม ตามลาดับ ส่วนโคที่น้าหนัก 550 กิโลกรัม มีความต้องการปริมาณโปรตีนหยาบวันละ 695 962 1,069 1,176 และ 1,283 กรัม ตามลาดับ และโคที่น้าหนัก 600 กิโลกรัม มีความต้องการปริมาณโปรตีนหยาบวันละ 758 1,050 1,166 1,283 และ 1,399 กรัม ตามลาดับ
คำสำคัญ: ค่าความต้องการโปรตีน ค่าความต้องการพลังงาน โคนมทดแทนฝูง