บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงราย ให้คงความบริสุทธิ์และเป็นอัตลักษณ์ของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายผ่านแนวคิด “Eco Rice” และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และ 3) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายภายใต้แนวคิด “Eco Rice” และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยมีผลวิจัยของแต่ละวัตถุประสงค์ดังนี้
วัตถุประสงค์ที่ 1: ได้เครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ จำนวน 106 ราย และในฤดูนาปี 2563/2564 ได้แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ต้นแบบ 2 แปลง ได้เกษตรกรต้นแบบด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 2 ราย และได้เมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ในระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ฤดูนาปี 2564/2565 จำนวน 860 กิโลกรัม และได้รวงข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จำนวน 2,000 รวง สาหรับใช้ปลูกรักษาความบริสุทธิ์
วัตถุประสงค์ที่ 2: 1) ได้เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ของจังหวัดเชียงราย ผ่านแนวคิด “Eco Rice” จำนวน 92 ราย และมีเกษตรกรต้นแบบ 17 ราย ซึ่งผลการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ พบว่า ส่วนใหญ่มีการเพิ่มรายได้โดยการปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริม และมีแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งส่วนใหญ่มีการลดต้นทุนโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยหมักและน้าหมักชีวภาพ และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ และ 2) พัฒนามาตรฐานการผลิตของเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ตามระบบควบคุมภายใน สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย จำนวนรวม 92 ราย โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สมาชิกผู้ผลิตได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ซึ่งได้ดาเนินการตามขั้นตอนจนถึงการเตรียมยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย
วัตถุประสงค์ที่ 3: 1) ได้พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ให้กับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 กลุ่ม 2) ต้นทุนการปลูกข้าวของอำเภอแม่สายสูงที่สุดคือ 7,097.26 บาทต่อไร่ ในขณะที่อำเภอแม่จันมีต้นทุนต่าที่สุดคือ 4,133.90 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยต่อไร่ชองอำเภอแม่จันสูงที่สุดคือ 569 กิโลกรัมต่อไร่ และอำเภอแม่สายต่าที่สุดคือ 423 กิโลกรัมต่อไร่ ได้รับรายได้จากการขายข้าวสารเฉลี่ยต่อไร่ของอำเภอแม่สายสูงที่สุดคือ 38,070 บาทต่อไร่ และ 3) แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่อทางการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงรายภายใต้แนวคิด “Eco Rice” และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ได้แก่ ระดับที่ 1 ระดับเกษตรผู้ปลูกและผู้ขายข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 แนวทางการสร้างมูลค่าทางการตลาด ประกอบด้วย 1) การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยการเล่าเรื่อง (Story Telling) ผ่านตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และพัฒนาการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ซึ่งช่วยสร้างความแตกต่างและอัตลักษณ์ของข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 เชียงรายให้โดดเด่น 2) การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ของฝากหรือของขวัญตามเทศกาลและเป็นของฝากประจาจังหวัดเชียงราย 3) การเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งแบบ offline และ online 4) การสื่อสารการตลาดโดยเน้นกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะที่มีกาลังซื้อสูง เป็นผู้มีรายได้ปานกลางถึงมีรายได้สูง อีกทั้งเป็นผู้ใส่ใจสุขภาพ มีความพิถีพิถันในการด้านบริโภคอาหารและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถจาหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้นและเพื่อผลักดันให้เป็นสินค้าข้าวพรีเมี่ยมต่อไป ระดับที่ 2 ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนการตลาดข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 แนวทางการสร้างมูลค่าทางการตลาด ประกอบด้วย 1) การจัดทาแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 อย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทาง 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการกากับติดตามดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 เพื่อรักษาคุณภาพและให้ได้มาตรฐานภายใต้แนวคิด “Eco Rice” และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 3) การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อบูรณาการแผนงานโครงการและงบประมาณร่วมกันในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 อย่างเป็นระบบ 4) การแสวงหาตลาดใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรผู้ปลูกและผู้ขายข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 เพื่อทาให้ได้กลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและเพื่อเพิ่มฐานข้อมูลบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป