ค้นหา

กาวดักแมลงจากยางพารา

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เข้าชม 1,524 ครั้ง
นักวิจัย ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 
สถานภาพสิทธิบัตรคำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801006041 ยื่นคำขอวันที่ 28 กันยายน 2561
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1801006042 ยื่นคำขอวันที่ 28 กันยายน 2561

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหาปัจจุบันประชาชนเริ่มหันมาสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยการบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจตกค้างในผลผลิตการการเกษตรนั้นๆ แต่การรบกวนจากแมลงศัตรูพืชก็ยังคงมีอยู่เช่นเดียวกับการทำเกษตรทั่วไป ดังนั้นเพื่อป้องกันแมลงโดยไม่ใช้สารเคมี จึงทำให้เกิดการคิดค้นหาวิธีการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเน้นการใช้สารสกัดจากธรรมชาติซึ่งสามารถย่อยสลายได้ไม่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้วิธีทางกล ซึ่งวิธีการที่นิยมได้แก่ การทำกับดักแมลงแบบไม่ต้องใช้พลังงานในแปลงผักอินทรีย์

กับดักกาวเหนียว เป็นกับดักแมลงที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ใช้ในการตรวจตราและทำนายการระบาดของแมลง อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมปริมาณแมลงศัตรูพืชตัวเต็มวัยได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ แมลงวันเจาะผล แมลงวันของหนอนชอนใบ ผีเสื้อกลางวันชนิดต่าง ๆ ทั้งของหนอนคืบและหนอนใย เป็นต้น โดยกาวเหนียวจะต้องมีคุณสมบัติคือไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม การใช้งานทำได้โดยทากาวเหนียวทาบนวัสดุที่มีสีเหลือง เนื่องจากแมลงชอบสีเหลือง โดยกับดักนี้จะใช้ล่อแมลงให้บินมาติดกาวเหนียวที่ทาไว้ ติดตั้งในแปลงผักสูงประมาณ 30 เซนติเมตรหรือสูงกว่ายอดต้นผักเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วโดยในช่วงที่มีการระบาดมาก (ฤดูร้อน/ฤดูฝน) จะใช้กับดักประมาณ 60-80 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ ส่วนในฤดูหนาวอาจใช้เพียง 15-20 กับดักต่อไร่

ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก เมื่อพิจารณาสมบัติของยางธรรมชาติดิบ พบว่ายางธรรมชาติดิบมีสมบัติความเหนียวติดที่ดี จึงสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกาวเหนียวเพื่อดักจับแมลงในแปลงเกษตรได้สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี• ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
• ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในครัวเรือน
• ใช้งานง่าย ดักแมลงได้ดี
• ผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเช่นน้ำยางพารา
• ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ
ความร่วมมือที่เสาะหาเสาะหา ผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัยต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการ ได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง

เงื่อนไขเทคโนโลยีต่อรองราคาสนใจสอบถามข้อมูลงานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
โทรศัพท์0 2564 7000 ต่อ [email protected]

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.thailandtechshow.com/view_techno.php?id=1130