ค้นหา

ชาไหมข้าวโพด (Corn Silk Tea)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เข้าชม 989 ครั้ง

นักวิจัย : ดร.อุทุมพร ไชยวงษ์, ดร.สายฝน ไทยวงศ์, นางสาวอรวรา ผาสุก และนางสาวบงกชมาศ โสภา

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :

ข้าวโพดฝักอ่อน (ฺBaby Corn) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2552-2562 พบว่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยทั้งประเทศ 256,817 ตัน/ปี และมีการแปรรูปเพื่อส่งออกเป็นข้าวโพดกระป๋องไปยังต่างประเทศ ในการแปรรูปข้าวโพดฝักอ่อนเป็นข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋องนั้น กระบวนการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋องจะมีไหมข้าวโพดเป็นของเหลือทิ้ง การใช้ไหมข้าวโพดซึ่งเป็นของเหลือทิ้งมาแปรรูปเป็นชาไหมข้าวโพดเป็นการเพิ่มมูลค่าทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากผลการวิจัยอุณหภูมิการอบแห้งของไหมข้าวโพดด้านคุณสมบัติ ได้แก่ ปริมาณฟีนอล ปริมาณฤิทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟลาโวนอยด์ พบว่า อุณหภูมิในการอบแห้งและสารละลายมีผลต่อ ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด การอบไหมข้าวโพดที่อุณหภูมิ 50 ํC และชงชาด้วยน้ำอุณหภูมิน้ำ 95 ํC ปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ ปริมาณฟลาโวนอยด์จะสูงที่สุด

จุดเด่นนวัตกรรม :

การอบไหมข้าวโพด-ไหมข้าวโพดที่ใช้เป็นไหมข้าวโพดพันธุ์เกษตรศาสตร์ 3 ซึ่งไม่ได้รับการผสมเนื่องจากตัวผู้เป็นหมัน หลังจากเก็บเกี่ยวและทำการปลอกเปลือกเพื่อใช้ตัวฝักของข้าวโพดฝักอ่อนแล้ว ไหมที่ได้จะนำไปอบด้วยตู้อบลมร้อนด้วนอุณหภูมิ 50 ํC จนกว่าจะแห้งใช้เวลา 1-2 วันขึ้นอยู่กับปริมาณไหมที่ใช้อบ หลังจากอบจนแห้งแล้วบดไหมให้ละเอียดด้วยเครื่องบดสมุนไพร หลังจากได้ไหมที่บดละเอียดแล้วทำการบรรจุในถุงชาแต่ละถุงหนัก 1 กรัม ทำการบรรจุกระป๋องสังกะสีพร้อมติดฉลาก โดย 1 กระป๋องบรรจุ 20 ถุง เมื่อบรรจุชาทั้งหมดลงในกระป๋องแล้วทำการซีลกระป๋องด้วยพลาสติก สามารถเก็บไว้ได้ 1 ปี

คุณสมบัติ-ชาไหมข้าวโพดมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์สูง เมื่อชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 95 ํC

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ : ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร โทรศัพท์ : 082-3921288 อีเมล์ : [email protected]

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.facebook.com/kuservice.ku.ac.th/?locale=th_TH