ค้นหา

ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบน้ำหมุนเวียนภายใต้โดมความร้อน

รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย
เข้าชม 404 ครั้ง

ปัจจุบันความต้องการอาหารเพื่อการบริโภคมีมากขึ้น ซึ่งจากสถิติการบริโภคสัตว์น้ำในจังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็น 40 ตัน/วัน แต่ศักยภาพการผลิตของจังหวัดเชียงใหม่ 18 ตัน/วัน เท่านั้น ส่วนที่ยังขาดต้องนำมาจากจังหวัดใกล้เคียงและภาคกลาง ซึ่งพบปัญหาเรื่องของคุณภาพปลาและการใช้สารเคมี เพื่อคงสภาพความสตของสัตว์น้ำ เนื่องจากในการขนส่งที่ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ขณะเดียวกันแนวโน้มในปัจจุบันพบกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการและให้ความสำคัญกับการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีความปลอดภัยมีมากขึ้น

ตังนั้นความต้องการสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัยในการบริโภคมีสูงขึ้นถามไปด้วยเช่นกัน จากสถานการณ์ปริมาณการจับสัตว์น้ำในประเทศไทยมีปริมาณลดลงมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงเป็นทางออกที่มีความสำคัญเพื่อสร้างผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและจากสภาวะทางธรรมชาติในปัจจุบันที่มีความเสี่ยงจากความผันแปรด้านภูมิอากาศซึ่งก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมหรือภัยแล้งได้ง่าย จากสถิติการผลิตสัตว์น้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนทางภาคเหนือมีแหล่งผลิตที่ให้ปริมาณสูง เพียงแหล่งเดียวคือจังหวัดเชียงราย ซึ่งระบบการผลิตเป็นระบบเปิด เป็นการเลี้ยงในบ่อดินและกระชัง ซึ่งระบบนี้มีความเสี่ยงทางด้านผลิต ทางสภาพทางภูมิอากาศ

คณะนักวิจัยจึงได้มุ่งประเด็นวิจัยไปยังการสร้างระบบเพาะเลี้ยงที่ดีที่เน้นความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง BCG Model

จุดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีเดิม นวัตกรรมระบบการเลี้ยงปลากะพงขาวเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกผักที่ใช้ต้นทุนทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพมีระบบบำบัดครบวงจรโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำใช้สารแทนนินเปลี่ยนตะกอนที่เกิดในระบบให้เป็นตะกอนชีวภาพ ลดภาวการณ์เกิดโรคในปลาเพิ่มคุณภาพของปลามีระบบเติมอากาศที่มีการควบคุมปริมาณออกซิเจน ระบบการให้อาหารที่มีการคำนวณน้ำหนักปลาเพื่อให้อาหารได้เหมาะสมพอดี ระบบควบคุมอุณหภูมิของน้ำโดยอัตโนมัติ น้ำในระบบมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาในแต่ละช่วงอายุ เพิ่มอัตราการรอดของปลาจากระบบเลี้ยงทั่วไป 2 เท่า ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อย ใช้แรงงานคนเพียง 2 คน สามารถจัดการผลผลิตทั้งปลาและผัก ต่างจากเทคโนโลยีเดิมที่มีในประเทศไทย เนื่องจากการเลี้ยงปลาในสภาวะควบคุมยังไม่แพร่หลาย ตลอดจนการปลูกผักโดยใช้น้ำเหลือจากการเลี้ยงปลายังทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพเพียงพอ

ผู้ที่เหมาะสมนำเทคโนโลยีไปใช้/ลงทุนเชิงพาณิชย์ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์น้ำ

ผู้พัฒนานวัตกรรม
สถานที่ผลิต : รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

สอบถามเพิ่มเติม : ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โทรศัพท์ : 053875635/0818832696
E-Mail : [email protected]

ที่มาของข้อมูล 1. กลุ่มนวัตกรรมเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส.
2. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
3. เว็บไซต์ https://www.thailandtechshow.com/view_techno.php?id=1319

แชร์ :