นักวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร เกษแก้วและทีมงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ยางพารา เป็นพืชที่สามารถแปรสภาพเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ มีการศึกษาเกี่ยวกับการแปรสภาพวัสดุธรรมชาติและยางสังเคราะห์ไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนคุณภาพสูง โดยใช้วิธีไพโรไลซิสแบบต่างๆ ซึ่งเป็นกระบวนการทางความร้อนที่สามารถแปรสภาพชีวมวลให้กลายเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลว เพื่อเพิ่มมูลค่าของยางพารา โดยพบว่า ยางพาราสามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลวได้มากถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังให้ความร้อนสูงถึง 4.3-4.5 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นข้อดีเมื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชีวภาพอื่นๆ
ที่ผ่านมามีผู้ประดิษฐ์เครื่องผลิตเชื้อเพลิงจากยางพาราโดยใช้ปฏิกิริยาไพโรไลสิสและควบแน่นไอระเหยของยางพาราจากหม้อปฏิกรณ์ แต่เป็นการทำงานแบบรอบต่อรอบ ไม่สามารถทำงานแบบต่อเนื่องได้ จากข้อเสียดังกล่าวจึงไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้ อีกทั้งเครื่องมีขนาดเล็กเหมาะกับการใช้งานภายในครัวเรือนเท่านั้น หากต้องเพิ่มกำลังการผลิตจะต้องใช้เงินทุนอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ คณะผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาเครื่องผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลจากยางพาราแบบต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตโดยใช้เครื่องเดิมได้
จุดเด่นนวัตกรรม :
- สามารถผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลได้อย่างต่อเนื่องในขั้นตอนเดียวกัน
- ออกแบบให้มีชุดหม้อหลอมยางพาราเพื่อให้สามารถป้อนวัตถุดิบได้ต่อเนื่อง
- น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นน้ำมันทดแทนน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน
- เป็นทางเลือกในการสร้างแหล่งพลังงานทดแทนที่ลดการใช้น้ำมันจากปิโตรเลียม
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
จินดาพร พลสูงเนิน, พรรณรวี กบิลพัฒน์ และเบญจมาภรณ์ พงษ์ไทย ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เบอร์โทรศัพท์ : 086-451-4455, 043-202-733 อีเมล์ : [email protected], [email protected] และ [email protected]