ค้นหา

สารชะลอการสุกของผลไม้จากขี้เถ้าแกลบ

admin
เข้าชม 4,698 ครั้ง

“การใช้ประโยชน์จากของเสียขั้นสุดท้ายจากกระบวนการแปรรูปข้าวเปลือก “แกลบดํา หรือ ขี้เถ้า แกลบ” สู่การพัฒนานวัตกรรมเพิ่มมูลค่าขี้เถ้าแกลบ”

วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
● เพิ่มมูลค่าขี้เถ้าแกลบซึ่งเป็นของเสียขั้นสุดท้ายจากกระบวนการแปรรูปข้าวเปลือก
● ชะลอการสุกของผลไม้ระหว่างการขนส่ง
● แก้ไขปัญหาการบังคับตัดผลไม้อ่อนเพื่อ เพื่อระยะเวลาสําหรับการขนส่งของเกษตรกร

จุดเด่นของนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าขี้เถ้าแกลบได้มากถึง 50 เท่า และชะลอการสุกของผลไม้ขณะขนส่ง

ประโยชน์ของนวัตกรรม
ขี้เถ้าแกลบสามารถดูดซับสาร เอทิลีนที่ทําให้ผลไม้สุกได้ โดย การเติมสารเคมีกลุ่ม กลุ่ม KMnO4 และ Propylene glycol และทดลองกับผลไม้ของ จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งทุเรียน ลางสาด ลองกอง และผลไม้ชนิด บ่มสุกจากทั่วประเทศรวมทั้ง ผลไม้ต่างประเทศ ที่ส่งจําหน่าย ในประเทศไทย หากใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม จะชะลอการสุกนานถึง 20 วัน

หลักการ/วิธีการใช้นวัตกรรม
การใช้ขี้เถ้าแกลบโดยใช้สาร Glycerol เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจับสารในรูพรุน และการใช้สารที่สามารถกักเก็บได้ในรูพรุนขี้เถ้าแกลบ คือสารเคมีกลุ่ม KMnO4 และ Propylene Glycol เป็นวัสดุตัวกลางในการเสริมสารเสริมฤทธิ์ ที่มีประสิทธิภาพในการชะลอการสุกของผลไม้และลดอุณหภูมิในบรรจุภัณฑ์ได้ เพื่อประโยชน์ในการช่วยชะลอการสุกของผลไม้ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ขี้เถ้าแกลบจํานวน 3 ซอง ต่อผลไม้น้ำหนัก 100 กรัม ผลิตภัณฑ์ ขี้เถ้าแกลบ 1 แพ็ก จํานวน 30 ซอง จะสามารถใช้กับทุเรียน 1 ผล และผลไม้อื่นๆ ในปริมาณน้ำหนัก 1 กิโลกรัม

พื้นที่เป้าหมาย/กลุ่มเป้าหมาย
● เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้
● ผู้ประกอบการส่งออกผลไม้

ภาพรวมของนวัตกรรม :
การเพิ่มมูลค่าขี้เถ้าแกลบได้มากถึง 50 เท่า และสามารถชะลอการสุกของผลไม้ขณะขนส่ง โดยนําสารชะลอการสุกไปใส่ไว้ร่วมกับผลไม้ก่อนบรรจุในภาชนะ หรือกล่องกระดาษ สามารถชะลอการสุกของผลไม้ 1 สัปดาห์

ที่มา : ดร.กิตติ เมืองตุ้ม รองผู้อํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
เบอร์ติดต่อ : 66(0) 55416601-20 ต่อ 1376, 1373
Email: [email protected]

คลิกเพื่อดาวน์โหลด

แชร์ :