ค้นหา

โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผัก

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เข้าชม 2,136 ครั้ง

เทคโนโลยีโรงเรือนพลาสติก สำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้การทำเกษตรได้รับผลกระทบหลายด้าน เช่น ความไม่แน่นอน ของฤดูกาล ภัยธรรมชาติ และการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายต้นทุนเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีความเสี่ยงในการปลูกพืช

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้พัฒนาพลาสติกสำหรับคลุมโรงเรือนเพาะปลูก ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและ วิศวกรรม (DECC) ได้พัฒนาและออกแบบโครงสร้างโรงเรือนลักษณะหลังคา 2 ชั้น ให้มีระบบไหลเวียน อากาศภายในโรงเรือน โดยได้ทดลองใช้โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชปักคุณภาพในพื้นที่ โครงการหลวงและ ขยายผลการทดลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีบ้านหนองมั่ง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี พบว่าการปลูกผักในโรงเรือนได้ผลผลิต คุณภาพดี โตเร็ว สีสันสวยงาม และลดระยะเวลาการปลูก เช่น ผักกาดขาวใช้เวลาเพียง 20 วัน จากเดิม 25-30 วัน สลัดใบแดงใช้เวลาเพียง 20-25 วัน จากเดิม 30 วัน (ตั้งแต่บ้ามกล้าปลูก ในโรงเรือน) ที่สำคัญปลูกได้ตลอดปี แม้ในฤดูฝน

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรือน พลาสติกสำหรับการผลิตพืชมักคุณภาพไปแล้วกว่า 80 หลัง (ข้อมูลปี 2560)

คุณสมบัติของโรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ
• จัดการโรคและพืชได้ง่ายขึ้น ทำให้มีผักมีคุณภาพและปลอดภัย ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชผัก เช่น ความเข้มแสง ระยะเวลาที่พืชรับแสง ความเข้มของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอุณหภูมิ
• ป้องกันปัญหาโรคที่มาจากน้ำฝน เช่น โรคราน้ำค้าง โรครากเน่า
• วางแผนการเพาะปลูกได้ง่าย และสามารถผลิตพืชได้ทั้งปี

โรงเรือนพลาสติกสำหรับผลิตพืชผักคุณภาพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง
การทำโรงเรือนปลูกมักต้องลงทุนสูง ควรพิจารณาความคุ้มทุน การคิดต้นทุน กำไร การบริหาร หรือการวางแผนการปลูกแต่ละรอบ เกษตรกรควรวางแผนการผลิตที่ต่อเนื่องทั้งปี เลือกพืชผักที่มีมูลค่า เป็นที่ต้องการของตลาด ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากกรณีของนายปิยะทัศน์ ทศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี นายปิยะทัศน์ลงทุนสร้างโรงเรือปลูกผัก ในปี พ.ศ. 2554 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 88,500 บาท ตั้งโรงเรือนโดยใช้เงินส่วนตัวและกู้เงินบางส่วนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำหรับการลงทุนครั้งแรก ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มบางราย กู้เงิน ธ.ก.ส. มาลงทุนสร้างโรงเรือนเพิ่ม โดยคืนทุนภายในหนึ่งปี

โรงเรือนที่ก่อสร้างและใช้งานในปัจจุบันมีประมาณ 80 หลัง แต่ละหลังมีรายได้จากการปลูกพืชผักตั้งแต่ 65,000 – 110,000 บาท/ปี สนใจดูงานเกษตรกรที่ใช้โรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง
1. นายปิยะทัศน์ ทัศนิยม ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์ 083-1285325
2. นางทองใหม่ ที่ลุ่ม ต.บ้านแก้ง อ.นาแก จ.นครพนม โทรศัพท์ 083-1265779
3. นางสมพร ทองคำ ต.พระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โทรศัพท์ 086-8582329

การสร้างโรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ
• โครงสร้างโรงเรือนพลาสติกฯ มี 2 ชั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทอากาศ เมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงขึ้น อากาศลอยตัวออกทางช่องลมระหว่างหลังคาทั้ง 2 ชั้น
• ทิศทางการติดตั้งโรงเรือน ควรอยู่ในแนวเหนือ – ใต้

ประมาณการต้นทุนก่อสร้างโรงเรียนขนาด 6 x 24 x 4.8 เมตร
• โครงสร้างพร้อมระบบฐานราก 80,000 บาท
• คลิปล็อค (ไม่มีสปริง) 6 หุน จำนวน 500 ตัวๆ ละ 8 บาท 4,000 บาท
• พลาสติกใสพิเศษ ผสม UV absorber 7% จำนวน 300 ตารางเมตร เมตรละ 15 บาท 4,500 บาท
(ขนาดหน้ากว้าง 4 เมตร ยาว 25 เมตร หนา 150 ไมครอน จำนวน 3 ชิ้น) รวม 88,500 บาท

หมายเหตุ
1. อายุการใช้งานพลาสติกประมาณ 2 – 3 ปี โครงสร้างเหล็กกัลวาไนซ์อายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 30 ปี
2. ต้นทุนอาจเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับราคาวัสดุและค่าแรงในท้องถิ่น

แหล่งซื้อพลาสติก
• บริษัท วัลย์ดีพาณิชย์อุตสาหกรรม จำกัด 1092 ถนนสุขุมวิท71 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 โทรศัพท์ 0-2717-2966
• บริษัท วิสและบุตร จำกัด 112/2-3 หมู่ 12 ถนนบางพลี-กิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ 081-8391167 หรือ 0-2316-3384
• บริษัท เอกสุวรรณเกษตร (2001) จำกัด 241/11 หมู่ 17 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 โทรศัพท์ 0 2448 0327, 0-2885-0793-4
* สวทช. อยู่ระหว่างพัฒนา/ปรับปรุงสูตรพลาสติกเพิ่มเติม จึงยังมิได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีพลาสติกสูตรใหม่ให้กับภาคเอกชน
* พลาสติกของบริษัทข้างต้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงสามารถนำไปใช้ได้

ผู้พัฒนานวัตกรรม
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0-2564-8000 โทรสาร 0-2564-7004
สายด่วน สท. 096 -996-4100
E-Mail : [email protected]
Website : www.nstda.or.th/agritec

ที่มาของข้อมูล
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและชุมชน สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน 2561

คลิปวีดีโอ
• โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ
• โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน การติดตั้งโรงเรือน
• โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน ระบบน้ำเพื่อการเพาะปลูก
• โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ ตอน โรคและแมลงศัตรูพืช

แชร์ :