ค้นหา

การผลิตโคเอนไซม์คิวเทน และแพลงตอน จากเศษเหลืออินทรีย์ จากอุตสาหกรรมชีวภาพ

บจก.แดรี่โฮมวิสาหกิจเพื่อสังคม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เข้าชม 640 ครั้ง

นักวิจัย:
รศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม ผศ.ดร.ชลธี ชีวะเศรษฐธรรม รศ.ดร.ฐิติมา รุจิราลัย

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ปัจจุบันน้ำทิ้งของเสียที่มาจากอุตสาหกรรมการเกษตรหรือเศษอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำล้างท่อน้ำนม น้ำล้างกระบวนการชําแหละ สุกรไก่ ปลา หรือเศษอาหาร ยังไม่ได้ถูกนํามาเพิ่มมูลค่า แต่กลับเสียค่าใช้จ่ายไปกับการบําบัด โดยการใช้ไฟฟ้าในการตีอากาศและหรือวิธีอื่น ๆ ที่มีแต่รายจ่ายในการจัดการ รวมทั้งใช้เวลานานและเกิดการหมักหมม

จุดเด่นนวัตกรรม :
สามารถเพิ่มมูลค่าให้ของเสีย โดยปรับสภาพของเสียให้สามารถนําไปเพาะเลี้ยงแพลงตอนเพื่อเป็นอาหารสัตว์ โดยกระบวนการที่ไม่ใช้ไฟฟ้า ใช้แสงแดดจากธรรมชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181/371 ถ.เจริญประดิษฐ์ อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
0 7331 3928-50  ต่อ 1845


แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566