ค้นหา

วัคซีนปลานิลชนิดเชื้อตายสําหรับควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิส ประสิทธิภาพสูง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ SC healthtech รศ. ดร.ศศิมนัส อุณจักร์ รศ. ดร.นนทวิทย์ อารีย์ชน ดร.กรทิพย์ กรรณิการ ดร.อัณศยา พุ่มจันทร นางสาวศุภวรรณ เทพรินทร นางสาวอทิตยา โหยหวล นางสาววริศรา แววสว่าง
เข้าชม 970 ครั้ง

นักวิจัย :
รศ. ดร.ศศิมนัส อุณจักร์ รศ. ดร.นนทวิทย์ อารีย์ชน ดร.กรทิพย์ กรรณิการ ดร.อัณศยา พุ่มจันทร นางสาวศุภวรรณ เทพรินทร
นางสาวอทิตยา โหยหวล นางสาววริศรา แววสว่าง

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
“ปลานิล” เป็นปลาน้ําจืดที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไขมันต่ำ เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว โดยทั่วโลกมีการผลิตปลานิลมากถึงปีละประมาณ 6 ล้านตัน สําหรับประเทศไทยมีการผลิตอยู่ถึงปีละ 3.5 แสนตันต่อปี หรือ มากกว่า 350 ล้านตัวต่อปี คิดเป็นร้อยละ 42 ของผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ําจืดทั้งหมด อย่างไรก็ดี อุปสรรคสําคัญของการเพาะเลี้ยงปลานิลคือ “โรคในปลานิล” โดยเฉพาะโรคกลุ่ม Strep- tococcosis ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Streptococcus spp. และเป็นหนึ่งในโรคที่พบมากที่สุดและรุนแรงที่สุด สร้างความเสียหายแก่เกษตรกรมากถึงปีละ 700 ล้านบาท วิธีการป้องกันที่นิยมในปัจจุบัน คือ การใช้วัคซีน ซึ่งที่ผ่านมามีการทดสอบการใช้วัคซีนที่ผลิตและขึ้นทะเบียนจากต่างประเทศเพื่อจําหน่ายในประเทศไทย โดยวัคซีน
ดังกล่าวเป็นวัคซีนเชื้อตายที่ผลิตจากแบคทีเรีย S. agalactiae เพียงสายพันธุ์เดียว และใช้เชื้อต้นกําเนิดจากต่างประเทศ พบว่ามีประสิทธิภาพต่ำ และมีราคาสูงทําให้ไม่คุ้มทุนต่อการผลิตบริษัท SC healthtech Co.Ltd. ก่อตั้งโดยสัตวแพทย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรค การใช้วัคซีนในสัตว์ และเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อการควบคุมโรคในสัตว์น้ํา ซึ่งวัคซีนที่ผลิตในครั้งนี้เป็นผลงานจากนักวิจัยด้านโรคสัตว์น้ำ และนักเทคโนโลยีทางชีวภาพจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้พัฒนาวัคซีนปลานิลชนิดเชื้อตายสําหรับควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิสประสิทธิภาพสูง โดยคัดเลือกเชื้อต้นแบบที่รวบรวมได้จากการสํารวจการระบาด ของโรคทั่วประเทศไทยเป็นวลาติดต่อกันหลายปี และใช้วิธีการทางจุลชีววิทยา ชีวเคมี อณูชีววิทยาและพยาธิวิทยา จากนั้นได้พัฒนาสูตรวัคซีนควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิสที่ประกอบด้วย S. agalactiae สายพันธุ์ la และ III ที่มีความจําเพาะต่อสายพันธุ์ก่อโรคในประเทศไทย ทําให้สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในปลานิล และลดอัตราการตายจากโรค Streptococcosis ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่นนวัตกรรม :
แพลตฟอร์มการออกแบบวัคซีนเพื่อควบคุมโรคในสัตว์น้ํา โดยใช้เทคโนโลยี conventional vaccinology, reverse vaccinology และ structural vaccinology รวมถึงการพัฒนาระบบ นําส่งทางการกิน ทําให้ได้วัคซีนต้นแบบที่สามารถควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลได้ ซึ่งเอื้อให้การเติบโตดีกว่าปลาที่ไม่ได้รับวัคซีน และมีอัตรารอดสูงกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์กลุ่ม probiotics เพื่อใช้ควบคุมโรค AHPND ในกุ้งขาว ซึ่งทําให้อัตรารอดสูงและได้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยังมีชุดทดสอบสารตกค้างกลุ่ม Nitrofurans ที่ใช้คัดกรองสารตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําได้เร็ว (ทดสอบภาคสนาม อยู่ใน TRL5 ++) วัคซีนปลานิลชนิดเชื้อตายที่พัฒนาขึ้น คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรอย่างน้อยร้อยละ 20 และลดรายจ่ายในการผลิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลได้อย่างมาก รวมทั้งช่วยยกระดับชีวิตและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
เพิ่มผลผลิตได้กว่าร้อย 20 (เพิ่มอัตรารอด ปลาโตเร็ว)

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 093-536-5950


แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566