นักวิจัย :
นายจักรกฤช ศรีละออ นางสาวปุณณดา ทะรังศรี นางสาวสุภาวดี แหยมคง นางสาวพัทธนันท์ โกธรรม
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการบริโภคมากขึ้น ซึ่งพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด คือ พันธุ์ทองแดงลายหรือแมงสะดิ้ง (Acheta domesticus (Linnaeus)) เนื่องจากเป็นจิ้งหรีดขนาดเล็กที่ให้ปริมาณไม่สูง จึงมีรสชาติมันกว่าจิ้งหรีดชนิดอื่น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาความต้องการบริโภคจิ้งหรีดทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการบริโภค และการแปรรูปจิ้งหรีดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและนํารายได้เข้าสู่ประเทศ
จากเหตุผลดังกล่าวทําให้มีการเพิ่มกําลังการผลิตและมีจํานวนฟาร์มเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในกระบวนการผลิตจิ้งหรีดจะมีของเสียเหลือทิ้ง ได้แก่ มูลจิ้งหรีดจํานวนมาก ซึ่งมีสัดส่วนระหว่างน้ําหนักจิ้งหรีดสดกับน้ําหนักของมูลจิ้งหรีดที่เกิดขึ้นสูงถึงประมาณ 1:1 โดยในมูลจิ้งหรีดมีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง ที่ผ่านมามีการนําไปใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตปุ๋ยหมัก และเพิ่มมูลค่าโดยผลิตปุ๋ยอัดเม็ด เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนั้นยังเป็นการใช้ของเสียเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์ และที่สําคัญทําให้ผลผลิตทางการเกษตรมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
จุดเด่นนวัตกรรม :
1. มีธาตุอาหารหลักของพืชเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง
2. มีคุณสมบัติตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร
3. ไม่มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม
ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
เพิ่มมูลค่ามูลจิ้งหรีด/ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร/ลดการนําเข้าปุ๋ยเคมี/ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
โทร. 055-267080