นักวิจัย :
รศ. ดร.วาริน อินทนา เจ้าของเทคโนโลยี นายนันทวัฒน์ วรินทรเวช ผู้ช่วยนักวิจัย สํานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ดินปลูกเป็นวัสดุที่จําเป็นต่อการปลูกพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะเมล็ดและรองก้นหลุม เนื่องจากเป็นดินที่มี ความเหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพืช ปัจจุบันมีการพัฒนาและจําหน่ายดินปลูกพืชในท้อง ตลาดของประเทศไทยมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาทต่อปี (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2562) อย่างไรก็ตามดินปลูก ทั่วไปเน้นเฉพาะด้านธาตุอาหารบางชนิดที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช ได้แก่ ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม แต่ยังขาดบางปัจจัยที่จําเป็นในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของต้นพืชในอนาคต เช่น การสร้างภูมิคุ้มกันที่ทําให้ต้นพืชต้านทานต่อเชื้อโรคพืช การสร้างจุลินทรีย์คอยปกป้องระบบรากพืช และการสร้างต้น กล้าพืชที่ปลอดโรค เป็นต้น
คุณสมบัติของดินที่มีต่อพืช
1. พืชให้ผลผลิตสูงขึ้น
2. ลดการสูญเสียต้นกล้าจากการเข้าทําลายของเชื้อโรค
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการโรคพืชในแปลงปลูก
4. พืชมีคุณค่าทางอาหาร (การสะสมสารอาหารในเซลล์) มากขึ้น
5. พืชมีความปลอดภัย (ลดการปนเปื้อนของสารเคมี) มากขึ้น
6. ลดการระบาดของเชื้อโรคพืชสู่แปลงปลูกพืช
จุดเด่นนวัตกรรม :
1. ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในพืช (เชื้อราปฏิปักษ์สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในต้นพืชและธาตุ อาหารแคลเซียม เสริมกลไกการส่งสัญญาณในเซลล์พืชขณะต่อสู้กับศัตรูพืช)
2. สามารถป้องกันและควบคุมโรคพืชได้ 31 โรค ใน 14 พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่น พืชใน กลุ่มไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก ข้าว ไม้ดอก และไม้ประดับ เป็นต้น
ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
1. พืชให้ผลผลิตสูงขึ้น เพราะต้นกล้าที่แข็งแรงทําให้ต้นพืชปรับตัวในสภาพแวดล้อมได้ดีและ เร็วขึ้น เจริญเติบโตดีขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น
2. ลดการสูญเสียต้นกล้าจากการเข้าทําลายของเชื้อโรคได้ เพราะวัสดุปลูกพืชทั่วไปมักมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคพืช จึงนํามาซึ่งการสูญเสียของต้นกล้าพืชโดยเฉพาะโรคเน่า ระดับดินที่เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการโรคพืชในแปลงปลูกได้ เพราะนวัตกรรมนี้ทําให้ต้นกล้า พืชมีความแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น
นํามาซึ่งการลดปัญหาด้านโรคพืช ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคพืชในแปลงปลูกพืชได้
4. พืชมีคุณค่าทางอาหาร (การสะสมสารอาหารในเซลล์) มากขึ้น พืชมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น ทําให้เชื้อโรคพืชเข้าทําลายเพื่อแย่งสารอาหารจากเซลล์พืชน้อยลง ดังนั้นสารอาหารจึงถูกสะสมในเซลล์พืชมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคจึงได้รับสารอาหารจากพืชดังกล่าวมากขึ้น
5. พืชมีความปลอดภัย (ลดการปนเปื้อนของสารเคมี) มากขึ้น เมื่อพืชมีปัญหาด้านโรคพืช น้อยลง การใช้สารเคมีทางการเกษตรย่อมน้อยลง นํามาซึ่งการลดการปนเปื้อนของสารเคมีในผลผลิตพืชได้
6.ลดการระบาดของเชื้อโรคพืชสู่แปลงปลูกพืช จากการปนเปื้อนกับต้นกล้าพืชไปยังแปลง ปลูกในพืชที่ต่าง ๆ ได้ ซึ่งนวัตกรรมนี้ทําให้ต้นกล้าพืชปลอดเชื้อโรค ดังนั้นการเคลื่อนย้าย ต้นกล้าพืชไปยังแหล่งปลูกต่าง ๆ จึงมีความปลอดภัยๆ