ค้นหา

การตรวจวิเคราะห์ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของโควากิว

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เจ้าของผลงาน สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย
เข้าชม 682 ครั้ง

นักวิจัย :
กิตรติ นาคเกตุ ดร.สุเมธ อิ่มสุนทรรักษา รศ. ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
โควากิวเป็นโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองแท้ของประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเนื้อคุณภาพดี มีไขมันแทรกในเนื้อสูง และรสชาติ อร่อย จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งเนื้อโลวากิวในตลาดประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงมาจากการนําเข้าเป็นหลัก ทําให้มีราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพที่ดี และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึง ต้องตรวจสอบพันธุกรรมทุกครั้ง เพื่อคัดเลือกโควากิวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังจาดฐานข้อมูลทางด้านพันธุกรรมของโควากิวและโคลูกผสมวากิว ทําให้การตรวจสอบโคลูกผสมวากิวสายพันธุ์ดีทําได้ยาก
การขุนโคลูกผสมวากิว นอกจากคุณภาพอาหารและวิธีการให้อาหารจะมีความสําคัญในการผลิตเนื้อโค คุณภาพดีแล้ว สายพันธุ์และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ของโควากิวเป็นอีกปัจจัยที่มีความสําคัญต่อคุณภาพเนื้อที่ ได้ หากพบว่าโคลูกผสมวากิวมีปริมาณพันธุกรรมโควากิวสูงตั้งแต่ 50-87.5% จะให้เนื้อที่มีไขมันแทรกสูง นอกจากนี้การรู้ถึงยีนที่ส่งผลต่อคุณภาพของเนื้อโค ไม่ว่าจะเป็นยีนที่ส่งผลต่อไขมันแทรก ยีนที่ส่งผลต่อความนุ่มเนื้อ ยีนที่ส่งผลต่อการทนร้อนและยีนที่ส่งผลต่ออัตราการแลกเนื้อ สามารถทําให้เกษตรกรตัดสินใจคัดเลือกสายพันธุ์และวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสม เกษตรกรผู้ผลิตลูกโควากิวต้นนํ้าเพื่อจายลูกโคในไทยประสบปัญหาการไม่รู้คุณภาพของลูกโคที่ผลิตออกมา ทําให้ไม่สามารถปรับปรุงสายพันธุ์โคให้เป็นไปตามที่ตลาดต้องการได้ ซึ่งเกษตรกรต้องการความน่าเชื่อถือที่มากขึ้น ต้องการขายลูกโคให้ได้ราคาที่สูงขึ้น และพัฒนาสายพันธุ์ของโคให้ได้ตามต้องการ ในส่วนของเกษตรกรผู้ซื้อลูกโคโปขุนต่อ ประสบปัญหาการได้ลูกโคเกรดไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ทําให้เกรดเนื้อที่ได้ไม่เป็นไปตามที่คาด ซื้อลูกโคราคาสูงโดยไม่รู้ประวัติความเป็นมา ทําให้ขุนไปแล้วไขมันไม่แทรก ขุนไม่ขึ้น ขายเนื้อได้ราคาต่ํากว่าที่คาดหวัง และเสี่ยงต่อการขาดทุน

ทีมวิจัยเล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการนําเทคโนโลยี Amplification Refractory Mutation System – Polymerase Chain Reactions (ARMS-PCR) ที่ทําได้ง่าย ทันสมัย และมีความแม่นยําสูงมาใช้ศึกษาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่สําคัญ และมีความเกี่ยวเนื่องกับปริมาณไขมันแทรก และความนุ่มเนื้อ อีกทั้งจัดสร้างฐานข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อใช้ตรวจสอบระดับเลือดผสมวากิวก่อนถูกส่งเข้ากระบวนการขุน และเป็นข้อมูลปรับปรุงพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเกษตรกรถึงผลลัพธ์ที่ดีในการขุนโคลูกผสมวากิวแต่ละครั้ง ได้ราคาขายลูกโคและเนื้อโคที่สูงขึ้นตามมาตรฐาน ช่วยลดความเสียหายที่จะเกิด ขึ้นจากการขุนโคลูกผสมวากิวที่มีปริมาณพันธุกรรมโควากิวต่ำ

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
บริการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับคุณภาพเนื้อ เช่น ยีนที่ส่งผลต่อ เปอร์เซ็นต์ไขมันแทรก ยีนที่ส่งผลต่อความนุ่มเนื้อของโควากิว โคลูกผสมวากิว และโคเนื้อ สายพันธุ์อื่นๆ

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
เกษตรกรสามารถทํานายผลผลิตของโคก่อนทําการเข้าขุน

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566