ค้นหา

ทำนาบนหลัง “โดรน” เทคโนโลยีติดปีก ที่จะมาพลิกวงการเกษตร

บริษัท เก้าไร่ บิซิเนส โซลูชั่นส์ จำกัด https://gaorai.io/main
เข้าชม 448 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล : บริษัท เก้าไร่ บิซิเนส โซลูชั่นส์ จำกัด (นายธิติพงศ์ ศิริวัฒน์)

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :

เมื่อพูดถึงโดรน ใครหลายๆ คนอาจกำลังคิดถึงโดรนถ่ายภาพ แต่โดรนอีกประเภทที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ก็คือโดรนสำหรับการเกษตร ซึ่งหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็นำเทคโนโลยีชนิดนี้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรของตัวเอง ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจุดเด่นทางด้านเกษตรกรรม เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยิ่งควรให้ความสนใจและศึกษาหาความรู้ในเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่ จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า หากเกษตรกรไทยนำเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรมาใช้จะทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 1,100 ล้านบาทในปี 2560 และจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 6,000 ล้านบาทในปี 2564 อีกทั้งปัจจุบัน แรงงานไทยในภาคการเกษตรกำลังเผชิญปัญหาแรงงานผู้สูงอายุ ขาดคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาทำงาน ทำให้มีแรงงานไม่เพียงพอต่อกระบวนการผลิต หากมีโดรนเข้ามาก็จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระงานของเกษตรกรได้มาก 
“โดรนสำหรับการเกษตร” จึงเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าจับตา เพราะสามารถเข้ามาช่วยจัดการพื้นที่ทางการเกษตรได้ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ จนเรียกได้ว่าเข้ามาพลิกวิถีการทำการเกษตรได้เลยทีเดียว ส่วนจะเข้ามาพลิกในมิติอะไรบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกัน 

จุดเด่นนวัตกรรม :

1 Soil and Field Analysis ระบบเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและวิเคราะห์คุณภาพดิน การทำงานของโดรนสามารถสร้างแผนที่สามมิติด้วยอินฟราเรด แสดงผลภาพรวมพื้นที่ทางการเกษตรได้ เพื่อใช้ในการเตรียมดินและกำหนดพื้นที่ในการเพาะปลูก 
2 Crop Spraying การฉีดพ่นน้ำ ปุ๋ยหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความแม่นยำ โดยระบบจะวัดระยะในการพ่นของเหลวสู่พื้นดินด้วยคลื่นอัลตราโซนิกและเลเซอร์ เพื่อให้ฉีดในปริมาณที่เหมาะสมต่อพื้นที่ในแต่ละจุด โดยเฉลี่ยวิธีการนี้ทำให้พ่นได้รวดเร็วกว่าเครื่องจักรทั่วไปกว่า 5 เท่า
3 Crop Mapping and Surveying ระบบเซ็นเซอร์และกล้องสำหรับถ่ายภาพโดยใช้ระบบ GPS เพื่อใช้วิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืชในแต่ละจุดได้อย่างทั่วถึงจากภาพมุมสูง ระบบนี้ช่วยเหลือได้มากสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทางการเกษตรที่ใหญ่ มีพื้นที่เยอะ
4 Irrigation Monitoring ระบบมอนิเตอร์ที่ใช้ตรวจสอบความชื้นว่ามากหรือน้อยเกินไปด้วยเซ็นเซอร์ความร้อนและอินฟราเรด หากพื้นที่ไหนแห้งเกินไปหรือพืชคายความร้อนมาก ก็สามารถตรวจสอบได้ทันที
5 Health Assessment ระบบวิเคราะห์สุขภาพพืช สามารถตรวจสอบการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราได้ด้วยการสแกนพืชผลผ่านอินฟราเรด โดยสังเกตได้จากสเปกตรัมของสีที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ติดตามพืชผลทางการเกษตรได้สม่ำเสมอ

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :

บริษัท เก้าไร่ บิซิเนส โซลูชั่นส์ จำกัด https://gaorai.io/main

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.nia.or.th/AgTechDrones