ค้นหา

นวัตกรรมการผลิตผักแบบ PFAL ด้วยเทคโนโลยีแสงแอลอีดี

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และบริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด
เข้าชม 18 ครั้ง

ทีมวิจัย

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หน่วยงานผู้สนับสนุนทุนวิจัย/หน่วยงานให้ทุน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

หน่วยงานเจ้าของผลงาน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และบริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด

ที่มาและความสำคัญ

วิตามินและเกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากต่อร่างกาย ซึ่งไม่สามารถถูกทดแทนด้วยสารอาหารกลุ่มอื่นได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของสารสำคัญและช่วยในปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ๆ ในร่างกายให้เกิดขึ้นอย่างปกติโดยทั้งสองกลุ่มสารอาหารนี้จำเป็นต้องทำงานคู่กัน ในร่างกายมนุษย์จึงต้องมีทั้งวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่พอเพียงและสมดุลกันตลอดเวลา มิฉะนั้นระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายจะความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงได้ และเนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างวิตามินและเกลือแร่เองได้ (ยกเว้นเพียงวิตามินดี) มนุษย์จึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่ให้สารอาหารทั้งสองกลุ่มมากพออยู่เป็นประจำ ซึ่งได้แก่ ผักและผลไม้ 

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่ามนุษย์ควรบริโภคผักและผลไม้รวมกันไม่น้อยกว่า 400 กรัม/วัน ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ผัก 3 ส่วน และ ผลไม้ 1 ส่วน นั่นหมายความว่าในแต่ละวัน มนุษย์ควรบริโภคผักไม่น้อยกว่า 300 กรัม อย่างไรก็ตาม การบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยยังนับว่ามีปัญหา โดยการสำรวจในอดีต (พ.ศ. 2550-2554) พบว่าร้อยละ 70 ของประชากรไทยบริโภคผักน้อยกว่าคำแนะนำดังกล่าว ขณะที่รายงานโครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2560-2562 โดย ภัทระ แสงไชยสุริยา และคณะ (2563) เสนอต่อกองควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่าในปี 2559 กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย คิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด และจัดเป็นอันดับต้นของโลก 

ทั้งนี้การบริโภคอาหารผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง หากปล่อยให้สภาวะการณ์นี้ดำเนินต่อไป คนไทยจะมีสุขภาพลดลงและเจ็บป่วยง่าย ประเทศชาติต้องเสียงบประมาณและบุคคลากรด้านสาธารณสุขเพื่อดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วยที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างมหาศาลในระยะยาว ดังนั้นการรณรงค์ให้คนไทยมีความตื่นตัวในการใส่ใจบริโภคผักให้เพียงพอ รวมทั้งผลักดันให้มีการผลิตผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สะอาดและปลอดภัยอย่างเพียงพอ ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ถือว่าเป็นภาระกิจสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน

ผลงานจากการวิจัยนี้นอกจากจะเกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์กับบริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด และบริษัทเอกชนรายอื่น ๆ ที่สนใจเข้าทำธุรกิจผลิตผักสดในโรงงานผลิตพืชแล้ว ยังมีผลสัมฤทธิ์ช่วยให้ผู้บริโภคชาวไทยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นจากการรับประทานผักที่สะอาด ปลอดภัย และมีโภชนาการสูง อีกทั้งช่วยพัฒนาธุรกิจเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าเพิ่มขึ้น และสุดท้ายช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเกษตรอัจฉริยะของนักวิจัยไทยและอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ซึ่งจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนสร้างบุคลากรด้านนี้ที่ยังขาดแคลนให้กับประเทศไทยต่อไป

กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์เป้าหมาย

บริษัทเอกชนที่สนใจเข้าทำธุรกิจผลิตผักสดในโรงงานผลิตพืช

กลุ่มอุตสาหกรรม/กลุ่มเอกชนที่นำผลงานมาใช้

ผู้บริโภคชาวไทย

หน่วยงานเจ้าของผลงาน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ที่อยู่ : 2003 ถนน พหลโยธิน 61 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-579-7435

บริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด

ที่อยู่: 2 24-25 แขวงเจริญกรุง 78 เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-688-0860

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และบริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด