ค้นหา

เครื่องตรวจสอบไข่มีเชื้อด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ทีมวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ หน่วยงานเจ้าของผลงาน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
เข้าชม 896 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล : ทีมวิจัยระดับปริญญาเอก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บริษัท คอนโซลูเทค จำกัด

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :

โรงฟักไข่เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมไก่เนื้อและไก่ไข่ เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตที่มีการพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยีและการจัดการเพื่อให้ไข่ฟักมีคุณภาพสูง เนื่องจากในกระบวนการผลิตดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนที่ซับซ้อน และจำเป็นต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ไข่ฟักออกและได้ผลผลิตมากที่สุด

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าโรงฟักไข่มีอัตราการสูญเสียถึงร้อยละ 40 ต่อรอบการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียมูลค่าต้นทุนและโอกาสทางการตลาดสูงถึง 6,000,000 บาทต่อสัปดาห์ ดังนั้นการทำให้ไข่ฟักสูงสุดต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่กระบวนการรับไข่จากฟาร์ม การตรวจสอบคุณภาพที่มีมาตรฐาน การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น การควบคุมระยะเวลาที่เหมาะสมในการฟัก (21 วัน) และการตรวจสอบคุณภาพของไข่ฟัก โดยนิยมตรวจในช่วงวันที่ 18 เพื่อตรวจสอบว่าไข่มีเชื้อหรือไม่มีเชื้อ ด้วยการนำไข่มาส่องทีละฟองโดยใช้แรงงานคน

ด้วยปัจจัยข้างต้น การฟักไข่จึงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีตัวแปรมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาได้หลายประการ ดังนั้นบริษัทจึงได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องตรวจสอบไข่มีเชื้อด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งรองรับการใช้งานได้ทั้งในโรงฟักและฟาร์มไก่ สามารถปรับตามขนาดของแผงไข่แต่ละโรงฟักด้วยการบูรณาการของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับทีมนักวิจัยและอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเครื่องดังกล่าวจะสามารถคัดแยกระหว่างไข่มีเชื้อและไข่ไม่มีเชื้อก่อนล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงวันที่ 10 และการคัดแยกเชิงลึกของไข่มีเชื้อว่ามีคุณสมบัติเป็นไข่เชื้อเป็นหรือไข่เชื้อตาย ซึ่งสามารถเพิ่มอัตราการฟักไข่ให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 98 และส่งผลโดยตรงต่อการคาดการณ์ปริมาณลูกไก่ที่แม่นยำขึ้น รวมถึงการป้องกันปัจจัยการสูญเสียระหว่างการผลิต เช่น ไข่ระเบิดในตู้ฟัก ไข่เน่า ไข่ตายโคม เป็นต้น

จุดเด่นนวัตกรรม :

เป็นการออกแบบและพัฒนาเครื่องตรวจสอบไข่มีเชื้อด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งรองรับการใช้งานได้ทั้งในโรงฟักและฟาร์มไก่ สามารถปรับตามขนาดของแผงไข่แต่ละโรงฟักได้ ด้วยการบูรณาการของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ โดยให้บริการครบทั้งวงจร Egg E Egg as a service

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ชั้น 12 อาคารเรียนรวม 12 ชั้น เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
กรุงเทพมหานคร 10520

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : ทีมวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ หน่วยงานเจ้าของผลงาน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)