ค้นหา

โครงการ ต้นแบบโรงเรือนปลูกพืชผสานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน
เข้าชม 64 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณา มงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ พลวงษ์ศรี
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวโรจน์ ใจสิน
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครินทร์ อินทนิเวศน์
ภานุวิชญ์ พุทธรักษา

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น :
ปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากขึ้นที่เพื่อใช้ลดต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดีมีความเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ อีกทั้งในปัจจุบันต้นทุนของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มลดลง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคเกษตรกรรมแพร่หลายมากขึ้น คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทาการวิจัยและสร้างต้นแบบโรงเรือนปลูกพืชผสมผสานกับการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือน เรียกว่า Greenhouse Integrated Photovoltaic Systems (GIPV) หรือ ต้นแบบโรงเรือนปลูกพืชผสานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสง โดยเลือกใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในกลุ่มของ Semi-Transparent Photovoltaic หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปร่งแสงมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ให้แสงผ่านเข้าไปในโรงเรือนปลูกพืชได้


ความสำคัญของปัญหา :
ปริมาณและคุณภาพของแสงอาจมีผลความต้องการของพืช ก่อนการจัดสร้างโรงเรือนต้นแบบ ต้องศึกษาลักษณะการจัดวางรูปแบบเซลล์แสงอาทิตย์และสีของฟิล์มที่ส่งผลต่อสมรรถนะการผลิตไฟฟ้าและคุณภาพของแสงที่เหมาะสมกับพืชก่อนจะทำการจัดสร้างโรงเรือนต้นแบบที่เหมาะสมต่อพืช

จุดเด่นนวัตกรรม :
นวัตกรรรมโรงเรือนปลูกพืชที่ผสานแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบกึ่งโปรงแสงเข้ากับหลังคา เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง และยังทำให้ค่าปริมาณแสงที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Photon Flux Density , PPFD) อย่างเพียงพอ นอกจากสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับระบบทำความเย็นแบบระเหยและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ในโรงเรือนทำให้สามารถลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งพื้นฐานแล้ว ยังช่วยลดภาระทางความร้อนเข้าโรงเรือนและลดพื้นที่ในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้สามารถนำพื้นที่ส่วนนั้นไปสร้างโรงเรือนปลูกพืชได้เพิ่ม อีกทั้งยังมีระบบควบคุมอัจฉริยะ เทคโนโลยี  loT เพื่อควบคุมการทำงานและจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรือน ทำให้สามารถปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงและต้องการอากาศเย็นในประเทศไทยได้ตลอดทั้งปี

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ 053-875-590

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://erp.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=8553#