ค้นหา

เครื่องผลิตปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทจากอากาศในธรรมชาติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร/รศ. ดร.ชาญชัย ทองโสภา/ผศ. ดร.อารักษ์ ธีรอำพน
เข้าชม 37 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
รศ. ดร.ชาญชัย ทองโสภา
ผศ. ดร.อารักษ์ ธีรอำพน

รศ. ดร.พีระพงษ์ อุฑารสกุล รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และงบประมาณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) 

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น : จากแนวคิดในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและลดการนำเข้าปุ๋ยทางการเกษตรจากต่างประทศ ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าหลายหมื่นล้านบาท เครื่องผลิตปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทจากอากาศในธรรมชาติ โดยการดึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยน้ำ โดยใช้หลักการอาร์คพลาสมา Plasma activate water (PAW) ขั้นตอนการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย การสร้างเครื่องต้นแบบในการผลิตปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทจากอากาศในธรรมชาติ เพื่อหาความสัมพันธ์ในการปรับเปลี่ยนพลังงานพลาสมาต่อปริมาณปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทและศึกษาวิเคราะห์การเจริญเติบโตในพืช หลังจากการใช้ปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตในพืชกับการปลูกพืชปกติที่ไม่ใช้ปุ๋ย

ความสำคัญของปัญหา :
น้ำผสมปุ๋ยเคมีนั้น เมื่อนำมารดลงพืชทำให้เกิดธาตุอาหารไนโตรเจนของพืชได้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ถ้าเปรียบเทียบกับการใช้น้ำที่ผ่านกระบวนการ PAW เป็นธาตุอาหารเสริมในพืชได้อีกทางหนึ่ง ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากเกษตรกรนำมาใช้งานจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเกิดความยั่งยืน และลดการพึ่งพาปุ๋ยจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง ซึ่งข้อเสียจากการซื้อปุ๋ยที่สั่งจากต่างประเทศ ทำให้เสียดุลการค้า ไม่สามารถควบคุมกำหนดราคาปุ๋ยไม่ได้ และพื้นที่ที่ใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่อง ดินจะเสื่อมสภาพไว เพราะในส่วนผสมของปุ๋ยเคมี จะมีส่วนประกอบของฟิลเลอร์(Filler) อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับพืชบางชนิดได้

จุดเด่นนวัตกรรม :
การออกแบบเครื่องผลิตปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทโดยการสร้างวงจรไฟฟ้าแรงดันสูง ใช้หลักการอาร์คพลาสมา Plasma activate water (PAW) สร้างขั้วอิเล็กโตรดปล่อยแรงดันไฟฟ้าแบบปลายแหลมกับแผ่นกราวอะลูมิเนียม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานการยึดเหนี่ยวกันระหว่างโมเลกุลของน้ำ (H2O) พร้อมกับการดึงไนโตรเจนและออกซิเจนในอากาศ ที่มีอยู่ประมาณ 78% และ 21% ตามลำดับ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีใหม่เป็นไนเตรต (NO3-)  และไนไตรต์ (NO2-) หรือปุ๋ยน้ำ โดยสารไนเตรทก็คือรูปแบบของธาตุไนโตรเจนที่พืชต้องการสำหรับการเติบโต ทั้งนี้ ทีมวิจัยสร้างเครื่องต้นแบบผลิตปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทจากอากาศในธรรมชาติ ขนาด 6 โมดูล กำลัง 1,200 วัตต์ โดยใช้งบประมาณ 3.5 แสนบาท มีกำลังการผลิตปุ๋ยน้ำขนาด 5-10 ลิตรต่อชั่วโมง สามารถผลิตปุ๋ยได้ 24 ชั่วโมง คิดเป็นต้นทุนการผลิตเพียง 50 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น ซึ่งคืนทุนได้ภายใน 2 ปี ช่วยให้ประหยัดงบประมาณการใช้ปุ๋ยยูเรียได้มาก และยังสามารถขยายโมดูลเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการของเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจหรือสถานประกอบการ ซึ่งในเบื้องต้นได้รับการประสานงานจากผู้ที่มีความสนใจจะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งาน ซึ่งปุ๋ยยูเรียหรือสารไนเตรทจากอากาศธรรมชาติดังกล่าวสามารถนำมาใช้งานได้จริง

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 0-4422-3000
โทรสาร 0-4422-4070

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.sut.ac.th/news/detail/1/news20230419