ค้นหา

การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดจากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อใช้ผลิตจิ้งหรีดคุณภาพ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
เข้าชม 10 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
ชาตรี หอมเขียว
รศ. วรพงค์ บุญช่วยแทน
รัตนา อุ่นจันทร์
ฐานวิทย์ แนมใส
ผศ.ดร. พัชราภรณ์ วาณิชย์ปกรณ์
ชัยณรงค์ ศรีวะบุตร

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น : การพัฒนาวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดจากเส้นใยธรรมชาติที่มีศักยภาพของประเทศไทย สู่การยกระดับจิ้งหรีดคุณภาพ” ทำให้สามารถพัฒนานวัตกรรมวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดจากเส้นใยธรรมชาติ ที่เป็นวัสดุหลบซ่อนที่สะอาดและปราศจากสารปนเปื้อนหรือสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดเกิดการรับรู้ในเทคโนโลยีการผลิตวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีด สามารถผลิตวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดไว้ใช้ได้เองในฟาร์มเพื่อให้จิ้งหรีดมีคุณภาพมากขึ้น และเกิดการขยายผลการใช้วัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดไปยังฟาร์มต่างๆ ในวงกว้าง ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องศึกษา โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลการใช้วัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดจากเส้นใยธรรมชาติไปยังฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดต่างๆ และสร้างการยอมรับวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดจากเส้นใยธรรมชาติผ่านการใช้เลี้ยงจิ้งหรีดในฟาร์มเกษตรกร


ความสำคัญของปัญหา : จิ้งหรีดส่วนใหญ่ที่กำลังลอกคราบเพื่อออกปีก บางส่วนยังมีขนาดเล็กอยู่ พวกขนาดเล็กมักจะพากันตายเป็นจำนวนมาก กองอยู่ที่ก้นบ่อ ตัวที่มีปีกแล้วก็จะไม่ตาย เนื่องจากอากาศที่มีความเย็นและอากาศมีความร้อน เพราะไม่มีวัสดุให้จิ้งหรีดได้หลบซ่อน อุณหภูมิที่ไม่ปกติจึงทำให้จิ้งหรีดตายเป็นจำนวนมาก

จุดเด่นนวัตกรรม :
ซึ่งผลจากการทดลอง พบว่าฟาร์มจิ้งหรีดที่มีความพร้อมตามเงื่อนไขของโครงการสำหรับการเป็นฟาร์มทดลองใช้วัสดุหลบซ่อนชนิดใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ฟาร์มในจังหวัดนครศรีธรรมราช และเมื่อนำวัสดุหลบซ่อนจากฟางข้าวไปทดลองใช้ในฟาร์มจิ้งหรีด พบว่า ฟาร์มจิ้งหรีดร้อยละ 60 ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ของความยาวลำตัวและน้ำหนักตัวทั้งทั้งจิ้งหรีดเพศผู้และเพศเมีย ระหว่างการเพาะเลี้ยงด้วยวัสดุหลบซ่อนที่ทำจากเส้นไยฟางข้าวและแผงไข่กระดาษ อย่างไรก็ตาม ฟาร์มจิ้งหรีดร้อยละ 40 เมื่อได้มีการจัดเรียงวัสดุหลบซ่อนจากฟางข้าวในรูปแบบแนวตั้งสลับแนวนอน พบว่า จิ้งหรีดทั้งเพศผู้และเพศเมียที่เลี้ยงด้วยวัสดุหลบซ่อนจากฟางข้าว มีความยาวลำตัวและน้ำหนักตัวสูงกว่าการเลี้ยงจิ้งหรีดด้วยวัสดุหลบซ่อนจากแผงไข่กระดาษ นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของเกษตรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดที่เป็นฟาร์มขนาดย่อยต่อการใช้วัดหลบซ่อนชนิดใหม่ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ขณะเดียวกัน เมื่อได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตวัสดุหลบซ่อน พบว่า ต้นทุนการผลิตรวมของวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดจากฟางข้าวในปัจจุบัน คือ 3.30 บาท นอกจากนั้น ผลการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดชนิดใหม่ ณ วิสาหกิจชุมชนชนปลูกผักปลอดภัยสารพิษ เพื่อให้เป็นผู้ผลิตวัสดุหลบซ่อนจิ้งหรีดชนิดใหม่ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดฟาร์มต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รู้จักกัน และเกิดการสร้างกลุ่มไลน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดสื่อสื่อสารกันระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดฟาร์มต่าง ๆ ซึ่งหลังจากมีกลุ่มไลน์ เกษตรกรได้มีการติดต่อระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนไซจิ้งหรีด และการสั่งซื้ออาหารจิ้งหรีด เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
เลขที่ 1 ถ.ราชดำเนินนอก ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
โทรศัพท์ : 0-7431-7100
โทรสาร : 0-7431-7123

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://riss.rmutsv.ac.th/project/?id=4459