ค้นหา

รถบดนาเกลือพลังงานแสงอาทิตย์

รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์ นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ประกอบด้วย ปรรณวัฒน์ ทองสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีแม่พิมพ์, นายอำนาจ จันทร, นายชนะพล มิ่งสรรพางค์, นายภาณุพันธ์ มังษา, นายอานันท์ คณาวงษ์, นายยศธร ตันตรง, นายกอบชัย คุ้มเปี่ยม, นายศักดิ์ชาย คำหมาย, นายรัฐพงษ์ ปานผ่อง, นายฐิติพันธ์ ดีหมื่นไวย์, นายทองสุข หนูกระจ่าง และนายศราวุฒิ เสมสุวรรณ
เข้าชม 57 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์ นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ประกอบด้วย ปรรณวัฒน์ ทองสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีแม่พิมพ์, นายอำนาจ จันทร, นายชนะพล มิ่งสรรพางค์, นายภาณุพันธ์ มังษา, นายอานันท์ คณาวงษ์, นายยศธร ตันตรง, นายกอบชัย คุ้มเปี่ยม, นายศักดิ์ชาย คำหมาย, นายรัฐพงษ์ ปานผ่อง, นายฐิติพันธ์ ดีหมื่นไวย์, นายทองสุข หนูกระจ่าง และนายศราวุฒิ เสมสุวรรณ

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น : การทำนาเกลือเป็นอาชีพที่สะท้อนภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดชายฝั่งทะเล ด้วยการสั่งสมประสบการณ์และการทดลอง ชาวบ้านได้คิดค้นวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตเกลือสมุทรหรือเกลือทะเล นอกจากจะเป็นเครื่องปรุงในครัวเรือนแล้ว เกลือยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมเสื้อผ้า การหลอมเหล็ก การผลิตกระจก การทำความเย็น และเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เกลือเป็นทรัพยากรสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยมาตั้งแต่โบราณ วิถีการทำนาเกลือแบบดั้งเดิมยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยพลังธรรมชาติทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในการผลิตดผลึกเกลือสีขาวสะอาด สะท้อนให้เห็นถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างกลมกลืน

ความสำคัญของปัญหา :  ขั้นตอนสำคัญในการทำนาเกลือคือการบดอัดดินในนาเกลือให้แน่นเรียบ เดิมทีนิยมใช้รถบดเกลือที่ใช้น้ำมัน ซึ่งในบางพื้นที่พบปัญหาน้ำมันรั่วไหลลงสู่นาเกลือ ส่งผลให้เกลือปนเปื้อนสารตกค้าง ซึ่งจังหวัดสมุทรสงครามเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลที่สำคัญ แต่ปัจจุบันหลงเหลือให้เห็นน้อยลงเต็มที เนื่องจากราคาเกลือตกต่ำประกอบกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของรถบดนาเกลือ ทำให้ชาวนาเกลือขาดทุน จึงจำเป็นต้องปล่อยพื้นที่ทิ้งร้าง

จุดเด่นนวัตกรรม :
รถบดนาเกลือพลังงานแสงอาทิตย์เป็นนวัตกรรมสู่ชุมชน สามารถทำงานได้ตลอดทั้งปีจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการออกแบบโครงสร้างใหม่ทั้งหมดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสมรรถนะสูงสุด มีการออกแบบให้ขับเคลื่อนล้อหลังและล้อบังคับทิศทางล้อหน้าเพื่อให้ง่ายต่อการขับขี่ หลังคาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 48 โวลต์ ชาร์จไฟได้สูงสุด 327 วัตต์/ชั่วโมง ให้กำลังไฟ 6.4 แอมป์ ต่อพ่วงกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ 4 ลูก ซึ่งต่อกันเป็นอนุกรมให้กำลังไฟ 48 โวลต์ จ่ายให้มอเตอร์ 48 โวลต์ 1,000 วัตต์ ให้กำลังขับเคลื่อนรถน้ำหนักได้ 500 กิโลกรัมขึ้นไป โดยขับเคลื่อนล้อหลังด้วยระบบล้อบดและล้อยาง ทำความเร็วสูงสุดได้ประมาณ 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง “เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน ทีมงานได้ออกแบบฟังก์ชั่นอเนกประสงค์เปลี่ยนเป็นล้อยางเสริมกระบะบรรทุกสินค้าในพื้นที่ อีกทั้งติดตั้งอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้าเป็น 220 โวลต์ ทำให้รถบดคันนี้เป็นปลั๊กไฟเคลื่อนที่จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องสูบน้ำ แสงไฟฟ้าส่องสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้อีกด้วย โดยราคาต้นทุนทั้งหมดประมาณ 120,000 บาท แต่หากชาวนาเกลือจะนำนวัตกรรมนี้ไปใช้สร้างโครงสร้างรถและล้อบดเดิม จะมีค่าใช้จ่ายเพียงค่าแบตเตอรี่รถยนต์ 12 โวลต์ 4 ลูก อาจใช้ของเก่าได้ แผงโซลาร์เซลล์และมอเตอร์ขับเคลื่อน รวมแล้วประมาณไม่เกิน 30,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_22588