ในสภาพอากาศที่มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เฝ้าระวังโรค “โรคราน้ำค้าง” โรคพืชสุดร้ายแรงของ “ลำไย” ให้เกษตรกรผู้ปลูกมะระหวานเฝ้าระวังกัน
สาเหตุของโรคราน้ำค้างในมะระหวาน
สาเหตุของโรคราน้ำค้างในมะระหวานเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศชื้น และระบาดหนักในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมะระหวาน
อาการโรคราน้ำค้างในมะระหวาน
1. มักจะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของมะระหวานก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน
2. ใบมีแผลฉ่ำน้ำ แผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นเป็นรูปเหลี่ยมเล็ก ๆ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
3. ในตอนเช้าช่วงสภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาที่แผลบริเวณด้านใต้ใบ แผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ
4. เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น มะระหวานที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก
วิธีป้องกันและดูแลโรคราน้ำค้างในมะระหวาน
1. สำรวจและหมั่นตรวจสอบแปลงเพาะปลูก และหมั่นกำจัดวัชพืช และตัดแต่งใบที่อยู่ด้านล่างของต้นออกบางส่วน
2. ไม่ปลูกมะระหวานระยะชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง
3. แปลงที่เป็นโรคราน้ำค้าง ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น