ค้นหา

น้ำหยดควบสารชีวภาพ สู้โรคระบาดรับมือเอลนีโญ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด
เข้าชม 381 ครั้ง

นายดำรงศักดิ์ เดี่ยววาณิชย์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด เผยว่า สภาพอากาศที่ผันผวน รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญรอบใหม่ ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดสภาพความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก รายได้เกษตรกรลดลง ดังนั้น ทางบริษัทเราจึงร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ่ายทอดนวัตกรรมทางชีวภาพ “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” (Bio-Stimulant) ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก และนิสิตนักศึกษากว่า 500 คน เพื่อช่วยในการรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง

รศ.ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยถึงการนำสารกระตุ้นทางชีวภาพมาใช้ในการทำวิจัยว่า เป็นสารที่มีชื่อเรียกว่า “เอ็มซี เซท” สกัดจากสาหร่ายทะเล Ascophylum Nodusum ผลิตด้วยเทคโนโลยี GEA POWER จึงทำให้ได้สาหร่ายสกัดที่มีคุณภาพ อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อพืชในปริมาณสูงและแตกต่างจากที่เคยมีมาก่อน ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างตาดอก ให้ดอกและเกสรสมบูรณ์ ลดการหลุดร่วงของดอกและผล ส่งเสริมการสร้างเมล็ด

“ในขณะที่ “เอ็มซี เอ็กซ์ตร้า” เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการปรับสมดุลในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น ใบ ระยะการให้ผลผลิต ทำให้ทรงผลสวยสม่ำเสมอ และเพิ่มวงรอบการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ ยังมี “อีสไบออน” กรดอะมิโนเข้มข้น 62.5% ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ช่วยลดความเครียดของพืชจากสภาวะแห้งแล้ง หนาวจัด หรือสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ให้พืชต่อสู้ได้กับทุกสภาวะอากาศ เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหาร ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสมบูรณ์”

ด้าน นางเขียว ผลหลาย เกษตรกรผู้ปลูก บวบเหลี่ยม, มะเขือเทศ, ถั่วฟักยาว บนเนื้อที่ 4 ไร่ บ้านใคร่นุ่น ต.กุดขอนแก่น บอกเสริมว่า ปลูกบวบเหลี่ยม 2 ไร่ ปลูกมะเขือเทศ 2 ไร่ และปลูกถั่วฝักยาวอีก 9 ร่อง หรือประมาณ 1 งาน เดี๋ยวนี้คนในหมู่บ้านใช้แต่ “อีสไบออน” คนไหนว่าดีในหมู่บ้านรู้จักหมด ในหมู่บ้านต่างก็พากันมาใช้ ใช้แล้วรากเดินยอดออก ใช้ควบกับระบบน้ำหยด ทำให้ไม่ต้องเดินใส่ปุ๋ย ไม่ต้องสูบน้ำราด ใส่ปุ๋ยไว้ในระบบน้ำหยดมันไปตามสาย ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก็ปิด ช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี

ส่วน นายอุทยาน คำภาหล้า เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศ, ถั่วฟักยาว, แตงกวา บนเนื้อที่ 3 ไร่ บ้านใคร่นุ่น ต.กุดขอนแก่น อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น บอกว่า เดิมทีการทำแปลงเมื่อก่อนนี้จะเป็นการปล่อยน้ำแล้วหว่านปุ๋ยตาม ทำให้ปุ๋ยไหลไปกับน้ำ หญ้าขึ้นเยอะ แต่พอเปลี่ยนมาใช้ระบบแบบน้ำหยด ดูแลรักษาง่ายผลผลิตต่างกันเยอะ และหลังจากได้ใช้สารกระตุ้นทางชีวภาพมาฉีดพ่นทดสอบในแปลงผลผลิตออกมาเพิ่มขึ้น ประมาณ 20-30%.

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2734994