นายชุมพล ขจรเฉลิมศักดิ์ นายกสมาคมแป้งมันสำปะหลังและมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทั้ง 2 องค์กรตระหนักถึงปัญหาโรคใบด่างของมันสำปะหลังไทยที่ก่อตัวแพร่ระบาดในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2561 โดยปัญหาก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลังไปจนถึงปริมาณส่งออกทั้งมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์แป้งมันลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ โดยยอดพื้นที่เพาะปลูกมันสะปะหลังไทยมีอยู่กว่า 9 ล้านไร่ แต่จากผลกระทบใบด่างระบาดจนกระทบพื้นที่เพาะปลูกแล้วกว่า 3 ล้านไร่ และหากไม่เร่งแก้ไขพื้นที่เพาะปลูกมันจะลดลงต่อเนื่องได้
นอกจากนี้ ไม่เพียงกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกเท่านั้น ยังกระทบไปถึงยอดส่งออกมันสำปะหลังไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยยอดส่งออกมันสำปะหลังไทยในปี 2566 ปริมาณลดลง 30 % คิดเป็นมูลค่าลดลงถึง 16.62 % หรือ 127,407 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2565 ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้ามันสำปะหลังลดลงมากถึง 20-30% หรือทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมลดลงไปแล้วประมาณ 50,000 ล้านบาท และอาจลดลงอย่างต่อเนื่องในปีต่อไปด้วย โดยมันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 700,000 ครัวเรือน และก่อให้เกิดการจ้างงานในอุดสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่า 20 ปี โดยที่ผ่านมามีมูลค่าส่งออกสูงถึง 150,000 บาทต่อปี และการใช้ภายในอีกประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปี มูลค่ารวมทั้งอุดสาหกรรมมันสำปะหลังประมาณ 200,000 ล้านบาท และยังมีมูลค่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากกว่า 300,000 ล้านบาท นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย และปัจจุบันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤตขาดแคลนผลผลิต ไม่เพียงพอต่อความต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีการผลิตที่ผ่านมา ผลผลิตมันสำปะหลังของไทยมีปริมาณลดลงจากในอดีตที่ได้ผลิตมากกว่า 30-33 ล้านตันต่อปี เหลือเพียงประมาณ 24-26 ล้านตันต่อปี อีกทั้งคุณภาพผลผลิตที่ลดลงด้วย ทำให้ตันทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นอย่างมาก
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน และทำให้สินค้ามันสำปะหลังไทยไม่สามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกต่อไปโดยผลผลิตมันสำปะหลังที่ลดลงนั้น มีสาเหตุสำคัญจากการระบาดของโรดใบด่างมันลำปะหลัง ที่เป็นโรดอุบัติใหม่ พบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 2561 โดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic virus สายพันธุ์ Sri Lankan (SLCMV/ มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำโรด และการนำตันพันธุ์ที่เป็นโรดไปปลูกต่อ เกิดภาวะขาดแคลนต้นพันธุ์สะอาดปลอดโรค มีการใช้พันธุ์อ่อนแอต่อโรดและที่เป็นโรดอยู่แล้วไปปลูกขยายต่อ แม้ว่าที่ผ่านมาภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมการระบาดได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ซึ่งภาคเอกชนประเมินว่าพบการระบาดของโรดใบด่างมันสำปะหลังในประเทศไทยแล้วไม่น้อยกว่า 3 ล้านไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศประมาณ 9 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด หากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนไม่ลงมือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ภาคเอกชนเชื่อว่าภายในระยะเวลาอันสั้น โรคใบด่างมันสำปะหลังจะระบาดไปในพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ สร้างความเสียหายและเกิดหายนะต่ออุตสาหกรรมอย่างใหญ่หลวง
ทั้งนี้ ทั้งสององค์กรได้ตระหนักถึงภัยอันตราย ได้จัดทำปรับปรุงพันธุ์ต้นทานและการใช้วิธีการควบคุมโรคพืชรวมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถคัดลือกพันรุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังชุดแรก 3 พันธุ์ และได้รับพระราชทานซื่อพันธุ์จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ พันธุ์อิทธิ 1 พันธุ์อิทธิ 2 และพันธุ์อิทธิ 3 รวมทั้งยังมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ลูกผสมต้านทานโรค เพื่อให้มีผลผลิตดีขึ้น แม้จะไม่สูงเท่ากับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 แต่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์เพื่อนำไปปลูกทดแทนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เพื่อช่วยยับยั้งการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายให้เกิดการใช้พันธุ์ต้านทานให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศไทยภายในเวลา 5 ปี เพื่อให้ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยทั้งระบบคงขีดความสามารถการแข่งขันที่ยั่งยืน ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลเร่งหามาตรการช่วยเหลือโดยจัดหาพันธุ์ที่ทนทานเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสะปะหลังกันต่อไป