การบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพผลผลิตพร้อมรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อน “นวัตกรรมเกษตร” อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหา
การบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพผลผลิตพร้อมรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลกร้อน ช่วยการลดการใช้พลังงาน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ยั่งยืน …
“นวัตกรรมเกษตร” อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาการเกษตร เพิ่มคุณภาพและดูแลรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพ รวมถึงส่งเสริมการเกษตรของไทยให้คงเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก ทั้งนี้นำเรื่องน่ารู้นวัตกรรมเกษตร โดย อาจารย์ประณต มณีอินทร์ ผู้อำนวยการวิจัยและบริการวิชาการเกษตร คณะนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต ให้มุมมอง ชี้บทบาทนวัตกรรมเกษตร เล่าถึงการวิจัย ปลูกผักสลัด โลว์ โพแทสเซียม เพื่อผู้ป่วยโรคไต ผลิตผักสดสะอาด ปลอดภัย food safety สร้างความมั่นคงอาหาร และความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร โดยกล่าวว่า การเกษตรเป็นต้นทางของแหล่งอาหาร
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการเกษตรมีความสำคัญ โดยเฉพาะวิกฤตโลกร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรทั่วโลก ส่งผลต่อพืชและผลผลิต หากมองถึงวิธีการแก้ไขหลักๆ นอกจาก การปรับปรุงพันธุ์พืช ยังมี การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปลูกพืช ทั้งนี้ การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้มีความต้านทาน หรือทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งหรือร้อน ต้องใช้ระยะเวลา ขณะที่การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปลูกพืช เพื่อให้พืชงอกงามเติบโตและมีคุณภาพ โดยทั้งสองส่วนมีความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเพิ่มคุณภาพผลผลิต
“ Plant factory การปลูกพืชในระบบปิดโดยนำเทคโนโลยีหลากสาขานำมาประยุกต์ใช้ เพื่อเปลี่ยนการปลูกพืชแบบดั้งเดิมโดยสามารถควบคุมสภาพแวดล้อม ทำให้ผลผลิตคงที่และมีความปลอดภัยสูง เป็นหนึ่งในนวัตกรรมเกษตรที่เสริมสร้างความยั่งยืน โดยที่ผ่านมา Plant factory RSU เราศึกษาวิจัย ปลูกผักที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยไต โลว์ โพแทนเซียมเป็นต้นแบบ โดยปลูกพืชกลุ่มผักสลัดหลายชนิด เพิ่มทางเลือกอาหารปลอดภัย ปลูกภายในโรงเรือนโดยควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน นับแต่ระบบน้ำ ธาตุอาหาร รวมถึงแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ฯลฯ เพื่อตอบโจทย์การแปรปรวนของสภาพอากาศ”
Plant factory ยังเป็นห้องปฏิบัติการให้กับนักศึกษาเรียนรู้ ทดลอง โดยจากงานวิจัยศึกษาการลดโพแทสเซียม ในผักในรูปแบบงานวิชาการ โดยเราทำงานร่วมกับหลายคณะของมหาวิทยาลัยรังสิตต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นได้ผลผลิตผักที่มีคุณภาพ สะอาดปลอดภัยสูง
นอกจากการปลูกใน Plant factoryที่ผ่านมายังดีไซน์ตู้ปลูกผัก ปรับประยุกต์สำหรับปลูกในบ้าน ในคอนโดมิเนียม มีระบบน้ำ ธาตุอาหารที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน ออกแบบเป็นชุดที่เหมาะกับครอบครัว ซึ่งสามารถปลูกผักหมุนเวียนและนำมารับประทาน ได้ตลอด เป็นตัวช่วยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ส่งต่อความยั่งยืน ปรับตัวเข้ากับภาวะโลกร้อน
อาจารย์ประณต อธิบายอีกว่า นวัตกรรมเกษตรยังช่วยทุ่นแรง ตอบโจทย์แก้ปัญหาแรงงาน ทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตการเกษตร อย่างในงานวิจัยไม่ใช่แค่ผู้ป่วย ทุกคนสามารถรับประทานผักได้อย่างมั่นใจ ด้วยนวัตกรรมเกษตรที่นำมาผลิตผักเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
“ โรงงานผลิตพืชจากที่นี่ เราส่งผลผลิต ผักสด สะอาดปลอดภัยถึงมือบุคลากรในมหาวิทยาลัยมาแล้วหลายรุ่น ทั้งยังเป็นห้องเรียน ห้องปฎิบัติการให้กับนักศึกษามาโดยตลอด โดยปีแรกจากที่กล่าวเราทดสอบในเรื่องปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมกับพืชในมิติต่างๆ ทั้งในด้านรสชาติ รสสัมผัส ระยะเวลาเก็บผลผลิต ฯลฯ โดยในปีนี้จะเพิ่มคุณภาพผักยิ่งขึ้น โดยชูความเป็น โลว์ โพแทสเซียม รวมถึงศึกษาต่อเนื่องอีกหลายมิติเพื่อให้ได้ผักที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น”
อาจารย์ประณตเล่าทิ้งท้ายอีกว่า ผักปลอดภัยที่ผลิตจาก Plant factory เราเริ่มศึกษานับแต่เรื่องน้ำ ซึ่งมีความสำคัญกับพืช ใช้น้ำกรองที่ผ่านการกรองธาตุอาหารทั้งหมด เหลือคงสภาพไว้แค่น้ำอย่างเดียว ไม่มีธาตุอาหารอื่นปะปน หรือมีสิ่งใดเจือปน เพื่อนำมาใช้ผสมกับธาตุอาหารที่วิเคราะห์ก่อนเข้าสู่ระบบเลี้ยงต้น
“ น้ำสะอาดยังนำมาปรับ uvc เพื่อฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานและในทุกขั้นตอน เราควบคุมเรื่องความสะอาดและนอกจากกลุ่มผักสลัด ในกลุ่ม ดอกไม้กินได้ ที่นิยมนำมาจัดจาน จัดแต่งอาหารสามารถปลูกในลักษณะนี้ได้ รวมถึง ไอซ์ แพลนท์ และพืชผักอาหารต่างๆ โดยศึกษาธาตุอาหารที่เหมาะสม ปลูกในรูปแบบนี้ได้เช่นกัน ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตร”