นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน อย่าง สถานการณ์ภัยแล้ง เป็นผลมาจาก ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นกว่าค่าปกติ 0.5 องศา ขึ้นไป ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่สองของปี 2566 จนถึงช่วงต้นไตรมาสที่สองของปี 2567
ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์เอนโซ่จะพบในช่วงกลางไตรมาสที่สองของปี 2567 มีแนวโน้มที่สภาพภูมิอากาศจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และในช่วงต้นไตรมาสที่สามของปี 2567 ถึงต้นไตรมาสแรกของปี 2568 ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปรากฏการณ์ลานีญา อย่างต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักในพื้นที่หลายจังหวัด น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่า ไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ข้างต้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วซึ่งไม่ได้พบได้บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ ยังพบว่าปริมาณน้ำฝนลดลงและส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ดังจะเห็นได้จากปริมาณน้ำ ในเขื่อนทั่วประเทศ ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2567 มีปริมาตรรวม 43,354 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 61.12 % ของความจุน้ำใช้การ ลดลง จาก 45,489 ล้านลูกบาศก์เมตรในปีก่อน และเพิ่มขึ้นจาก 39,019 ล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2558 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ สถานการณ์ สภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าค่าปกติ
ทั้งนี้ยังมีสถานการณ์ฝนตกน้อย ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตสินค้า เกษตรสำคัญ ๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ให้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 และลดลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงในปี 2558 ได้แก่
- ข้าวเปลือก สัดส่วน 14.85% ลดลง 6.0 % (YoY) และลดลง 29.8 % เมื่อเทียบกับช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง ในปี 2558
- อ้อย สัดส่วน 6.25% ผลผลิตปรับตัวลดลง 12.2 % (YoY) และลดลง17.2 % เมื่อเทียบกับปี 2558
- มันสำปะหลัง สัดส่วน 5.80% ผลผลิตปรับตัวลดลง 9.0 % (YoY) และลดลง 25.5 % เมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรในไตรมาสแรกของปี 2567 ปรับตัวลดลง 3.5% และลดลง 9.5% เมื่อเทียบกับปี 2558
และคาดว่าแนวโน้มการเกิดปรากฏการณ์ลานีญาซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนักฉับพลัน จะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อผลผลิตภาคเกษตรโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี
ดังนั้น ภายใต้การเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญในเฝ้าระวัง ติดตาม และการวางแผนประเมิน สถานการณ์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างใกล้ชิด และมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกรูปแบบ พร้อมทั้งการยกระดับ ประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น การผันน้ำ การระบายน้ำ และการกระจายแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อภาคเกษตร รวมไปถึงยกระดับความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับสถานการณ์ของความแปรปรวน ด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจ และเข้าถึงหลักการกระบวนการใช้น้ำในการเพาะปลูกอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ ควรส่งเสริม มาตรการด้านการจัดการน้ำควบคู่กับด้านพันธุ์พืช โดยในระยะเริ่มต้นด้วยการให้เกษตรกรกระจายความเสี่ยงด้วยการปลูกพืชที่หลากหลาย และพืชทนทานในทุกสภาพภูมิอากาศทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ขณะที่มาตรการในระยะถัดไปควรมุ่งเน้นส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดอื่น ๆ ที่ทนต่อสภาพอากาศที่อาจจะแปรปรวนมากขึ้นในอนาคต เศรษฐกิจของภาคเกษตร และเศรษฐกิจในภาพรวมได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางในภาพรวมได้น้อยลง