นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงการเร่งปรับตัวและพัฒนาการผลิตข้าวของไทยไปสู่ข้าวคาร์บอนต่ำ หรือข้าวลดโลกร้อน ตามเทรนด์ของโลกว่า จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย พบว่า ภาคเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 15.23% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด รองจากภาคพลังงาน ที่มีสัดส่วน 69.96% โดยการปลูกข้าว ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดถึง 50.58% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรทั้งหมด
ดังนั้น ไทยจึงควรส่งเสริมการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ เพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าเพื่อเจาะตลาดข้าวพรีเมียม รวมถึงเตรียมความพร้อมรับมือกับกฎระเบียบและมาตรการระหว่างประเทศที่นำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขทางการค้า โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
“เวียดนาม คู่แข่งสำคัญของไทย ก็ส่งเสริมการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำเช่นกัน และมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย เข้าถึงตลาดข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า เพราะมีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด จึงสามารถเจาะตลาดยุโรปได้ดีกว่าข้าวไทย”
สำหรับข้าวคาร์บอนต่ำ คือ ข้าวที่ผลิตและแปรรูปด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะเป็นการทำนาเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ไม่เผาฟางข้าว การผลิต