เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น สมาพันธรัฐสวิส นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างไทย กับ “เอฟตา” หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA) พร้อมกับ นายกี ปาร์เมอแล็ง รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ นางสาว ซิซีลี เมียร์เซ็ท รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมนอร์เวย์ นางโดมินิค แฮชเลอร์) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศลิกเตนสไตน์ และนายมาร์ติน เอยอบสัน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไอซ์แลนด์
โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย และนาเคิร์ท เจเกอร์) เลขาธิการเอฟตา ร่วมเป็นสักขีพยาน ที่ House of Switzerland เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส ซึ่ง FTAไทย-เอฟตา ถือเป็น FTA ฉบับแรกของไทยกับยุโรป
นายพิชัย กล่าวว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นสักขีพยานและมีผู้แทนจากสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ มาร่วมลงตาม FTA กับไทย เรื่องนี้จะปรากฏไปทั่วโลก เราอยู่ในงาน World Economic Forum (WEF) จะเป็นการให้เห็นว่าประเทศไทยกลับเข้ามาสู่แผนที่โลกแล้ว
หลังจากที่เราหายไป 10 ปี ที่ไม่มีการเจรจาเขตการค้าเสรี และ FTA ไทย-เอฟตา เป็น FTA ที่มีมาตรฐานใหม่ยกไปอีกระดับหนึ่งทำให้เราขยายโอกาสสู่ FTA กับอียู ยูเออี และประเทศต่างๆ ในอนาคต จะแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีมาตรฐานที่ดีขึ้น การได้เซ็นต์ FTA กับประเทศที่มีมาตรฐานที่ดี จะช่วยยกระดับมาตรฐานของเรา ไทยจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งด้านภาพพจน์ การลงทุนและการค้า
![](https://media.gosmartfarmer.com/2025/01/24094434/image-327-1024x727.png)
ประเทศไทยเราจะกำลังเป็นแหล่งลงทุนของประเทศต่างๆ ที่จะไหลเข้ามา ปีที่แล้วเรามีการลงทุนเข้ามามากกว่า 1 ล้านล้านบาท และปีนี้จะไหลเข้ามามากขึ้นเป็นนิมิตหมายที่ดี คาดว่าเราจะได้ประโยชน์อีกหลายพันล้านบาท และอนาคตการลงทุนที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะมีอีกเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท เพราะ FTA ฉบับนี้จะนำสู่การเจรจา FTA กับอียู และมีหลายประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น ไทยต้องเร่งให้มี FTA มากขึ้น ให้มากกว่าหรือเท่ากับเวียดนาม เพื่อแข่งขันกับเวียดนามได้ FTA จะเป็นแต้มต่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีและแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ซึ่งมีหลายประเทศ สนใจเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ เช่น PCB Data Center หรือ AI และสำหรับผู้ประกอบการไทยเป็นเรื่องที่ดีที่เราต้องปรับตัวให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นขายของไปทั่วโลก เป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้วและเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ
“ตั้งแต่นี้ต่อไปขอยืนยันว่าจะเป็นยุคทองของไทย เหมือนที่ทรัมป์พูดว่าเป็นยุคทองของอเมริกา ผมก็เชื่อว่าจะเป็นยุคทองของไทยตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป และต้องช่วยกันแก้เรื่องหนี้ ตอนนี้เรามีเงินลงทุนเข้ามาเยอะ ส่งออกเราก็ดีปีที่แล้วทั้งปี 5.4% และปีนี้ก็จะดีต่อไป”นายพิชัย กล่าว
ทั้งนี้ภายหลังการลงนามในวันนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเผยแพร่ผลการเจรจาและเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ก่อนเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว หน่วยงานภายในประเทศของไทยจะต้องดำเนินการออกกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการมีผลบังคับใช้ของ FTA ฉบับนี้ให้เรียบร้อย ไทยจึงจะสามารถให้สัตยาบัน
คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในช่วงระหว่างนี้ภาคเอกชนไทยจึงควรศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงในการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ การเจรจาและเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ก่อนเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว หน่วยงานภายในประเทศของไทยจะต้องดำเนินการออกกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการมีผลบังคับใช้ของ FTA ฉบับนี้ให้เรียบร้อย ไทยจึงจะสามารถให้สัตยาบัน
ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปี 2567 ไทยกับเอฟตามีมูลค่าการค้ารวม 11,788.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.94 % ของการค้าทั้งหมดของไทยกับโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 19.22 % โดยไทยส่งออกไปเอฟตา 4,225.01 ล้านดอลลาร์และนำเข้าจากเอฟตา 7,563.35ล้านดอลลาร์
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเอฟตา ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบเหล็กและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องสำอาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าว
สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากเอฟตา ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป เคมีภัณฑ์