ค้นหา

การควบคุมเพลี้ยไฟพริกด้วยสารชีวภัณฑ์เชื้อรา Purpureocillium lilacinum

ไทยแลนด์เทคโชว์
เข้าชม 683 ครั้ง

นักวิจัย
นางสาวจีรภา ปัญญาศิริ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 14130

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เพลี้ยไฟพริกเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของพริกแล้ว และเป็นพาหะของเชื้อไวรัสโรคพืช ปัจจุบันได้มีการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพริกโดยใช้วิธีที่หลากหลาย ได้แก่ วิธีกล วิธีเขตกรรม ชีววิธีโดยการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ และการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กำจัดเพลี้ยไฟพริกอย่างได้ผล แต่มีผลเสียที่จะตามมา คือ อันตรายของสารพิษที่มีต่อผู้ใช้และผู้บริโภค และการตกค้างสะสมของสารพิษในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาค้นหาเชื้อราแมลงควบคุมเพลี้ยไฟพริกเพื่อใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เชื้อราB.bassianaและM.anisopliae ซึ่งมีศักยภาพในการควบคุมแมลงตระกูลเพลี้ย แต่ปัจจุบันยังไม่มีการนำเชื้อราดังกล่าวไปใช้ควบคุมเพลี้ยไฟพริกอย่างจริงจัง และยังไม่พบว่ามีการใช้เชื้อราPurpureociliium lilacinum เป็นสารชีวภัณฑ์กำจัดเพลี้ยไฟพริก ดังนั้นเพื่อให้สามารถใช้เชื้อราแมลงในการควบคุมประชากรเพลี้ยไฟพริกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมวิจัยจึงได้พัฒนากระบวนการใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมเพลี้ยไฟพริกด้วยการผสมผสานความรู้เกี่ยวกับเชื้อราจากรายงานที่ผ่านมาเข้ากับหลักการจากความรู้ด้านพฤติกรรมของแมลง

สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
• กระบวนการควบคุมเพลี้ยไฟพริกนี้จะใช้สารชีวภัณฑ์ในรูปของสารแขวนลอยของสปอร์ที่ได้จากเชื้อ Purpureocillium lilacinus โดยฉีดพ่นให้ทั่วโดยเฉพาะบริเวณยอด ดอก และใบบริเวณใต้ใบและบนใบ สปอร์เชื้อรานี้จะสามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้มากกว่า 90% (ทดสอบในระดับโรงเรือน)
• กระบวนการควบคุมเพลี้ยไฟพริกนี้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธี ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และถือได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมประชากรเพลี้ยไฟพริกเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ที่เคยมีรายงานมา

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง

เงื่อนไขเทคโนโลยีต่อรองราคาสนใจสอบถามข้อมูลงานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)โทรศัพท์0 2564 7000 ต่อ [email protected]สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.thailandtechshow.com/view_techno.php?id=1657