นักวิจัย
ผศ.ดร.นารถระพี นาคะวัจนะ
ศ.ดร.ปานมนัส ศิริสมบูรณ์
ผศ.ดร.วันพุทธ แซ่ฉั่ว
ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์
ผศ.ดร.เจษฎา โพธิ์สม
Miss Sneha Sharma
นายกฤษณะพล ลี่ไพฑูรย์
นายรัชพล จันทร์ศรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถานภาพสิทธิบัตรคำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002104 ยื่นคำขอวันที่ 29 กรกฎาคม 2564
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหาในปัจจุบันวิธีการคัดแยกระดับคุณภาพเนื้อทุเรียนในโรงงานส่งออกทุเรียน ทำโดยการสุ่มตัวอย่างเนื้อทุเรียนที่ถูกลำเลียงบนถาดเพื่อวัดค่าปริมาณเนื้อแห้ง (Dry matter) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความอ่อนแก่ และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Total soluble solids) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหวานของเนื้อทุเรียนเพื่อระบุระดับชั้นคุณภาพ ซึ่งการตรวจสอบวัดปริมาณเนื้อแห้งและปริมาณของแข็งซึ่งละลายได้ในน้ำของเนื้อทุเรียนใช้วิธีการในห้องปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลาในการตรวจสอบ และบุคลากรที่มีความชำนาญ และการตรวจสอบนั้นยังเป็นการทำลายชิ้นตัวอย่างและการทดสอบเป็นไปโดยการสุ่ม ไม่สามารถทำได้กับเนื้อทุเรียนทุกชิ้นทำให้ไม่สามารถระบุคุณภาพให้แก่ผลผลิตทุกชิ้นได้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะส่งออกเนื้อทุเรียนอ่อนหรือจืดแช่แข็ง ซึ่งเป็นทุเรียนที่ไม่ได้คุณภาพปนไปกับทุเรียนที่มีคุณภาพได้และทำให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นส่งผลให้ปฏิเสธการซื้อในครั้งถัดไปได้ ในการส่งออกสินค้าเนื้อทุเรียนคุณภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับมูลค่าสินค้าดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีกระบวนการเพื่อยืนยันคุณภาพสินค้าให้แก่ผู้บริโภค การประยุกต์ใช้เทคนิคเนียร์อินฟรา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การประดิษฐ์นี้จะสามารถตรวจสอบปริมาณเนื้อแห้งและปริมาณของแข็งซึ่งละลายน้ำของเนื้อทุเรียนได้ทุกชิ้น ซึ่งการที่สามารถตรวจสอบชิ้นเนื้อทุเรียนที่จะส่งออกได้ทั้งหมดและระบุค่าความแก่และความหวานที่บรรจุภัณฑ์ได้ แก้ปัญหาการปะปนของเนื้อทุเรียนที่ไม่ได้คุณภาพไปกับเนื้อทุเรียนที่มีคุณภาพ
สนใจสอบถามข้อมูลงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โทรศัพท์ : 023298212 ต่อ 4
โทรศัพท์มือถือ: 0825999544 Emai : [email protected]
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง