นักวิจัย : นางสาวบงกชมาศ โสภา และคณะผู้วิจัย
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวโพดหวาน ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์และรสชาติที่ถูกปาก โดยหลังจากการแปรรูปน้ำนมข้าวโพดหวานจะมีกากข้าวโพดหวานที่เหลือจากกระบวนการผลิตและถูกจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ประมาณ 900 – 1,000 กก./วัน ซึ่งกากข้าวโพดดังกล่าวยังคงมีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ เมื่อนำกากข้าวโพดสดของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ไปทำอบแห้งและบดเป็นแป้งพบว่ามีความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า คาร์โบไฮเดรต และใยอาหาร ร้อยละ 2.76 16.67 9.10 2.56 68.91 และ 23.60 ตามลำดับ นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าในแป้งจากกากข้าวโพดหวานยังมีปริมาณวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) จำนวน 271.87 mg/100g ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงนำกากข้าวโพดที่เหลือจากการผลิตน้ำนมข้าวโพดมาใช้ประโยชน์โดยการทดแทนแป้งสาลีใน บราวนี่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบที่เหลือจากกระบวนการผลิตและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค โดยผลิตภัณฑ์บราวนี่จากแป้งกากข้าวโพดหวานที่ได้มีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า คาร์โบไฮเดรต และใยอาหาร ร้อยละ 15.28 6.75 23.82 2.10 52.05 และ 4.62 ตามลำดับ ปริมาณวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) จำนวน 89.76 mg/100g
จุดเด่นนวัตกรรม :
ผลิตภัณฑ์บราวนี่จากกากข้าวโพด ปราศจากแป้งสาลีเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกากข้าวโพดที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำนมข้าวโพด ผลิตโดยใช้แป้งจากกากข้าวโพดหวานทดแทนการใช้แป้งสาลี เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ : ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร โทรศัพท์ : 085-0017940 อีเมล์ : [email protected]