นักวิจัย : นายอรรถวุฒิ กันทะวงศ์ และคณะ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
“การเลี้ยงหอยแมลงภู่” ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้วิธีเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือใช้หลักไม้ เช่น ไม้ไผ่ ปักลงในทะเลบริเวณชายฝั่งเพื่อเป็นหลักให้ลูกหอยแมลงภู่ที่เกิดตามธรรมชาติมาเกาะอาศัยและเจริญเติบโตจนได้ขนาดที่สามารถจับขายได้ หลักไม้ดังกล่าวมีอายุการใช้งานสั้นประมาณ 1-2 ปี ทำให้ต้องเสียค่าไม้และค่าแรงงานในการปักไม้ใหม่ เกษตรกรจึงเสียค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังมีข้อเสียหลายด้าน เช่น มีปัญหาไม้หักก่อนการเก็บเกี่ยว และเศษไม้ถูกพัดพาไปติดชายหาดทำลายทัศนียภาพที่สวยงามทางทะเล วิธีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกจึงถูกนำมาใช้ทดแทนการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ที่มักพบปัญหาไม้หักก่อนการเก็บเกี่ยวหรือในบริเวณที่มีสภาพดินแข็งที่ไม่สามารถเลี้ยงแบบปักไม้ได้
จุดเด่นนวัตกรรม :
- อุปกรณ์เคลื่อนย้ายได้ง่าย สะดวกในการติดตั้ง ช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายพื้นที่เลี้ยง
- ใช้วัสดุที่หาง่าย มีอายุการใช้งานนานหลายปี
- นำวัสดุอุปกรณ์เก่ากลับมาใช้ใหม่ เช่น ถังพลาสติก อวน
- มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบปักไม้
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เบอร์โทร 038-311-379 E-mail: [email protected]