ค้นหา

นวัตกรรมชักนำระบบราก เพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง

Mac
เข้าชม 8,720 ครั้ง

นักวิจัย :

รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :

โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora เป็นปัญหาหลักของการผลิตผลไม้เขตร้อน ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลไม้ พบมากในเขตเอเชียตะวันเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุเรียน ยาง โกโก้ ขนุน มะละกอ มะพร้าว และพืชตระกูลส้ม ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลไม้เขตร้อนในประเทศไทย โดยเชื้อราจะเข้าทำลายพืชทางรากและโคนต้นเป็นส่วนใหญ่ ทำให้พืชเกิดอาการรากเน่าโคนเน่าส่งผลให้ต้นโทรมลงและยืนต้นตายในที่สุด ทุเรียนเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจส่งออกของไทยที่สร้างรายได้กลับเข้าประเทศ แต่ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญอยู่บ่อยครั้งคือ ปัญหาโรครากและโคนเน่าในต้นทุเรียน

รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ 

จุดเด่นนวัตกรรม :

  • นวัตกรรมการชักนำระบบราก (Reborn Root Ecosystem : RRE)  เพื่อการผลิตทุเรียนคุณภาพสูง คือการสร้างระบบนิเวศน์หน้าดิน โดยการใช้เม็ดบีดที่มีความพรุนสูง ในการกักเก็บจุลินทรีย์รวมที่มีประโยชน์ และสามารถปลดปล่อยจุลินทรีย์ไปสร้างระบบนิเวศน์หน้าดิน ร่วมกับการใช้ใบไม้แห้ง ฟาง หรือหญ้าแห้ง วางบนท่ออากาศที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิด Biome และชั้นฮิวมัส จากนั้น Biome จะสร้างชั้นคีเลทขึ้นมา เพื่อทำการปลดปล่อยธาตุอาหารให้อยู่ในสภาวะที่รากพืชสามารถดูดซึมได้ และทำให้รากพืชเจริญเติบโตในชั้นฮิวมัสเพื่อดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และ สารเคมีทางการเกษตรลงได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชลงได้
  • ต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่าจากเชื้อ Phytophthora spp. จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์และแตกใบใหม่อย่างต่อเนื่อง หากมีดอกบนต้น ดอกไม่ร่วง ติดผลได้ตามปกติ เมื่อนำดินที่ผิวดินและใต้ดินลึก 15 เซนติเมตรโดยประมาณ และรากที่เป็นโรค ถูกเข้าทำลายมาตรวจเชื้อ พบว่า ไม่พบเชื้อ Phytophthora spp. ขณะที่ต้นทุเรียนที่ไม่ได้ใช้นวัตกรรมดังกล่าว ยังคงพบเชื้อ Phytophthora spp.

ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :

คุณธนวัฒน์ โชติวรรณ เบอร์โทรศัพท์ : 088-846-5455 Email : [email protected] และ คุณปิยะพงษ์ สอนแก้ว เบอร์โทรศัพท์ : 081-822-2801

แชร์ :