ค้นหา

การประยุกต์เทคโนโลยีพลาสมาและคลื่นไมโครเวฟ

ผศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เข้าชม 671 ครั้ง

การประยุกต์เทคโนโลยีพลาสมาและคลื่นไมโครเวฟเพื่อกระตุ้นการงอกและฆ่าเชื้อที่ผิวเมล็ดปาล์มน้ำมัน
Application of plasma and microwave technology for stimulation oil palm seed germination and inactivation of pathogenic microorganisms

โดยธรรมชาติของเมล็ดปาล์มน้ำมันจะมีการพักตัว ทำให้เมล็ดงอกช้าและงอกไม่สม่ำเสมอ เมล็ดปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่จะงอกได้รอยละ 50 หลังเพาะไปแล้ว 5-6 เดือน แต่เมื่อนำเมล็ดมาผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาหนึ่งเมล็ดจึงจะสามารถงอกได้ ซึ่งระยะเวลาที่เมล็ดได้ความร้อนและร้อยละของการงอกของเมล็ดปาล์มน้ำมันจะแตกต่างไปตามสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่แล้วเมล็ดปาล์มน้ำมันจะเริ่มงอก หลังจากได้รับความร้อนที่ 40 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ 40 วัน เป็นต้นไป นอกจากความร้อนจะช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดปาล์มน้ำมันแล้ว ความชื้อในเมล็ดและโครงสร้างของเมล็ดปาล์มน้ำมัน มีผลต่อการงอกของเมล็ดปาล์มด้วยเช่นกัน จึงพัฒนาระบบการเพาะเมล็ดปาล์มน้ำมันระบบใหม่ มีสามารถลอดการติดเชื่อที่ผิวเมล็ดและการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้เร็วขึ้น รวมถึงงอกได้สม่ำเสมอขึ้น

การพัฒนาเทคโนโลยี
พัฒนาเครื่องต้นแบบอุตสาหกรรมพลาสมาเพื่อใช้ฆ่าเชื้อราที่ผิวเมล็ด จำนวน 2 แบบ คือ แบบ Surface barrier discharge ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตเครื่องต้นแบบ 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท/กิโลวัตต์ และแบบ plasma jet ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตเครื่องต้นแบบ 80,000 บาท หรือ 160,000 บาท/กิโลวัตต์ และพัฒนาเครื่องต้นแบบไมโครเวฟอุตสาหกรรมสำหรับใช้ลดความชื้นเมล็ดปาล์มน้ำมันก่อนการเก็บรักษาเมล็ด มีต้นทุนในการผลิตเครื่องต้นแบบ 200,000 บาท หรือประมาณ 23,000 บาท/กิโลวัตต์

จุดเด่น
1. เครื่องต้นแบบอุตสาหกรรมการกำเนิดพลาสมาจำนวน 2 แบบ คือ แบบ Surface barrier discharge และแบบ plasma jet สามารถนำมาใช้ฆ่าเชื้อราที่ผิวเมล็ดได้ดีกว่าการใช้สารเคมี
2. เครื่องต้นแบบไมโครเวฟอุตสาหกรรมสำหรับใช้ลดความชื้นเมล็ดปาล์มน้ำมันก่อนการเก็บรักษาเมล็ด

ผู้พัฒนานวัตกรรม
หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
2003/61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร 0-2579-7435 ต่อ 3305-3309
www.arda.or.th และ www.facebook.com/ardathai

แชร์ :