นักวิจัย :
นายเสกสรรค์ ศาสตร์สถิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เป็นการทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไป ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอได้รับอากาศเสร็จ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย เมื่อดูดอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรค และแมลง ลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย เมื่อต้นข้าวแข็งแรงก็จะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย การทำนาแบบเปียกสลับแห้งนี้ เหมาะสำหรับพื้นที่ทำนาในเขตชลประทานที่ควบคุมการระบายน้ำได้ซึ่งใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไป 30-50% โดยจะใช้ท่อดูน้ำ ซึ่งทำจากท่อ PVC ความสูง 25 ซม. ติดตั้งในแปลงนา โดยให้ปากท่ออยู่เหนือผิวดิน 5 ซม. (ดังรูป) เมื่อถึงช่วงต้องการขังน้ำ เกษตรกรจะสูบน้ำเข้าแปลงนาให้สูงจากผิวดินประมาณ 5 ซม ท่วมปากท่อ หรืออาจจะมากกว่านั้น และจะปล่อยให้น้ำแห้งจนต่ำกว่าผิวดิน 15 ซม. หลังจากนั้นจึงสูบน้ำเข้าไปแปลงสลับกันไปการปลูกข้าวในลักษณะนี้
นอกจากนี้ การทำนาแบบเปียกสลับแห้งยังลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุแบบไร้อากาศเมื่อปลูกข้าวแบบขังน้ำเป็นเวลานานอีกด้วย
จุดเด่นนวัตกรรม :
- เป็นระบบช่วยในการบริหารจัดการการปล่อยน้ำเข้า และออกจากแปลงนา ประกอบไปด้วยสถานีวัดอากาศ และสถานีตรวจวัด โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
- เป็นระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแปลงนา ประกอบด้วย ระดับน้ำในแปลงนา, ความชื้นดิน, อุณหภูมิดิน และสภาพอากาศอัน ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน, อุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเข้มแสงอาทิตย์ความเร็วและทิศทางลม
- ระบบจะส่งข้อมูลตรวจวัดเหล่านี้ไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต
- ช่วยเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงปลูก ช่วยคำนวณการใช้น้ำของแปลงปลูกข้าว จากความสูงของระดับน้ำในแปลงนา และช่วยคำนวณการปล่อยก๊าซมีเทนของแปลงปลูกข้าว จากการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
ศศิน เชาวนกุล สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. เบอร์โทรศัพท์ : 02-564-7000 ต่อ 1324 E-mail : [email protected]