นักวิจัย :
สถาบันวิทยสิริเมธี เจ้าของผลงาน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและสารพิษกลุ่มฟีนอลิกในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเคมีในปริมาณที่เกิน กฎหมายหรือข้อบังคับกําหนด ส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม สร้างผลเสียต่อสุขภาพของ ผู้บริโภคไทย และระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการส่งออกของผลิตภัณฑ์ทางการ เกษตรไทย เนื่องจากมีสารพิษปนเปื้อนเกินกําหนดมาตรฐานคู่ค้าในต่างประเทศ ปัจจุบันการตรวจวัดการปนเปื้อน หรือการตกค้างของสารพิษเหล่านี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากขั้นตอนการตรวจวัดที่ยุ่งยาก ต้องใช้เครื่องมือ HPLC/ MS หรือ GC/MS ที่ซับซ้อน ใช้เวลาในการตรวจวัดที่นาน และค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะเกษตรกรในต่างจังหวัดที่ห่าง ไกลห้องปฏิบัติการ วิธีการตรวจวัดแบบอื่นคือ ชุดตรวจวัดแบบ colorimetry โดยใช้เอนไซม์ที่เรียกว่า acetylcho- linesterase (AChE) ซึ่งเป็นการตรวจวัดแบบทางอ้อม โดยติดตามปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่ถูกยับยั้งด้วยสารเคมี ปราบศัตรูพืช ซึ่งมีความซับซ้อนที่ทําให้อ่านผลหรือวิเคราะห์ผลคลาดเคลื่อนได้ง่าย ดังนั้นการตรวจวัดสารเคมี ปราบศัตรูที่มีความแม่นยํา มีความไวในการตรวจวัดที่สูง ใช้งานง่าย และใช้เวลาตรวจวัดน้อย จึงเป็นที่ต้องการ สําหรับการคัดกรองคุณภาพสินค้าทางการเกษตรเพื่อการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศ
คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
เทคโนโลยีลูมอส (LUMOS) ได้ผ่านการสาธิตในระดับห้องปฏิบัติการมาแล้ว และตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี ส่วนการพัฒนาต่อยอดจนไปถึงผู้ใช้งานจริงหรือลูกค้า ทางทีมวิจัยมีความประสงค์ที่จะออกแบบเครื่องมือแบบพกพาให้เหมาะกับเทคโนโลยีตรวจวัดและชุดน้ํายาตรวจวัดลูมอส (LUMOS) เพื่อใช้งานนอกห้องปฏิบัติการได้ง่าย ไม่ซับซ้อน บุคคลทั่วไปใช้งานได้ รวมถึงเป็นชุดตรวจวัดเพื่อคัดกรอง ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และติดตามการเปื้อนปนสารเคมีจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในสิ่งแวดล้อมได้ มีความปลอดภัย แม่นยํา รวดเร็ว แต่บอกช่วงความเข้มข้นของสารเคมีปราบศัตรูพืชปนเปื้อนได้ โดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ ซับซ้อน พกพาสะดวก เป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย
ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
เทคโนโลยีตรวจวัดสารเคมีปราบศัตรูพืชปนเปื้อน (LUMOS) ในอาหาร ผัก ผลไม้ และสิ่งแวดล้อม จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนและชุมชน โดยช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ของเกษตรกร ด้วยการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางการเกษตร และมีตรารับรองความปลอดภัยของสินค้า รวมถึงช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้นจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย อีกทั้งช่วยให้ชุมชนเกษตรกรรมเฝ้าระวังการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่เกินขนาด และคัดกรองสินค้าที่ปลอดภัยส่งต่อไปยังพ่อค้าคนกลางและผู้บริโภคได้ ทําให้เกิดเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ทีมวิจัยจะผลักดันเทคโนโลยีตรวจวัดลูมอสเป็นวิธีตรวจวัดมาตรฐานสินค้าการเกษตร เช่น Good Agricultural Practices (GAP) เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรของเกษตรกรไทย