นักวิจัย :
ผศ. ดร.มาโนช รินโย นายสมบัติ น้อยมิ่ง นายกัมปนาท ถ่ายสูงเนิน ดร.กรณี หลาวทอง
นายณัฐพงษ์ วงศ์วรรณ นางสาวธีรนุช สุมขุนทด นายอิสระพงษ์ เขียนปัญญา
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ผ้าไหมเป็นหนึ่งในสินค้า 1 ตําบล 1 ผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ตลาดผ้าไหมไทยมีมูลค่าซื้อขาย ประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี และมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 500 ล้านบาท ถึงแม้ว่าผ้าไหมจะมีราคาสูงแต่ยังเป็น ที่นิยมเพราะมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ อาชีพทอผ้าไหมกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ผ้าไหมที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากชุมชนมีความสามารถด้านการสร้างสรรค์การทอผ้าไหม ภูมิปัญญาอีสานจึงนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ผ่านการสั่งสม การถ่ายทอดและการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ทําให้ชุมชนหลายแห่งยังคงมีการทอผ้าไหมเป็นวิถีชีวิตและวิถีวัฒนธรรมมาจนถึงทุกวันนี้
ผลการวิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม พบว่ากลุ่ม ผู้ผลิตผ้าไหมยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของการวิเคราะห์ปัญหาการกําหนดเป้าหมายของกลุ่มจากการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้ทันต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปและเหมาะสมกับบริบทของกลุ่ม และจากการนําวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตขณะที่ผลการศึกษาข้อมูลด้าน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม พบว่ามีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการปฏิบัติงานเกิดขึ้นทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 94.29 และเกิดอาการปวดเมื่อยยังมีต่อเนื่องจากเมื่อวาน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเกิดจากการทํางานผิดหลักการยศาสตร์โดยมีสาเหตุจาก 1) ผู้ปฏิบัติงานต้องเอื้อมมือเหนือไหล่เพื่อหยิบจับสิ่งของขณะทํางาน 2) การก้มอย่างต่อเนื่อง และ 3) การเงยคอหรือแอ่นหลังขณะทํางาน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตผ้าไหม
คณะวิจัยจึงได้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการเตรียมเส้นไหมอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และลดอาการผิดปกติของระบบโครงร่าง และการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการปฏิบัติงาน
คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการเตรียมเส้นไหมอย่างครบวงจรช่วยส่งเสริมให้การผลิตเส้นไหมและการเตรียมเส้นไหมมีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น
2 นวัตกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการเตรียมเส้นไหมอย่างครบวงจรช่วยลดอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของผู้ปฏิบัติงาน ลดลงได้ร้อยละ 70
ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
- เครื่องสาวเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
1) ขนาด (ดีเนียร์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.51
2) ความยาวเส้นไหม เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.30
3) คุณภาพเส้นไหม เกรด A
4) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อลดลงร้อยละ 47.55 - เครื่องช่วยฟอกและย้อมสีเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
1) เวลาการฟอกและย้อมสีเส้นไหม ลดลงร้อยละ 38.57
2) ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในกระบวนการฟอกและย้อมสีเส้นไหม ลดลงร้อยละ 57.87 3) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 62.05 - เครื่องตีและควบเกลียวเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
1) ความเหนียวของเส้นไหม เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.03
2) การยืดตัวของเส้นไหม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.79 3) กําลังการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.47 ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 71.86 - เครื่องค้นหูกเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
1) เวลาการค้นหูกเส้นไหม ลดลงร้อยละ 43.12
2) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 57.64 - เครื่องขึ้นลําามัดหมี่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
1) การสูญเสียเส้นไหม ลดลงร้อยละ 56.2
2) เวลาการค้นหมี่เส้นไหม ลดลงร้อยละ 67.29
3) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 65.07 - เครื่องช่วยขึ้นม้วนเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
1) เวลาการขึ้นม้วนเส้นไหม ลดลงร้อยละ 51.82
2) การสูญเสียเส้นไหม ลดลงร้อยละ 97.37
3) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 66.67