ค้นหา

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก กล้วยน้ำว้าและมัลเบอร์รี

ผศ. ดร.เกรียง กิจบํารุงรัตน์ นายวีระ อุ่นทวง นายสุธีร์ แป้นสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เจ้าของผลงาน
เข้าชม 1,139 ครั้ง

นักวิจัย :
ผศ. ดร.เกรียง กิจบํารุงรัตน์ นายวีระ อุ่นทวง นายสุธีร์ แป้นสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เจ้าของผลงาน

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
การเกษตรกรในเขตหมู่บ้านรอบตําบลคลองนิยมยาตรา พืชที่นิยมปลูกคือ กล้วย ซึ่งเป็นพืชเมืองร้อนที่ปลูกมา เคียงข้างกับประเทศไทยและมีปริมาณเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงความนิยมของผู้บริโภค ส่วนใหญ่คนไทยจะรู้จักกล้วย อยู่เพียง 3 ชนิด คือ กล้วยหอมทอง กล้วยน้ําว้า และกล้วยไข่ แต่ปริมาณการส่งออกมิได้เพิ่มตามพื้นที่การปลูก กล้วย ทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการปลูกและการดูแลให้กล้วยได้มาตรฐานการส่งออก ซึ่งจะได้ผลดีต้องอาศัย องค์กรประกอบ เช่น ตัวเกษตรกรเอง พันธุ์กล้วยที่ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตมีคุณภาพ และผู้ส่งออก ซึ่งอาจจะต้อง อาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ

กล้วยน้ําว้าถือเป็นผลไม้มากคุณค่าที่เรารู้จักกันมาแต่โบราณ คนเฒ่าคนแก่ที่มีอายุยืน ส่วนใหญ่มักบอกตรงกันว่า “กล้วยน้ําว้า” คือยาอายุวัฒนะ มีคุณค่าและแคลเซียมสูง เด็ก ทานได้ผู้ใหญ่ทานดี ช่วยให้อายุยืนและลดน้ําหนักได้ จึงมีการจัดการธุรกิจอาหารแปรรูปพื้น บ้านโดยแปรรูปกล้วยน้ําว้าเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เช่น กล้วยฉาบ กล้วยอบเนย กล้วยตาก กล้วยกวน แยมกล้วยน้ําว้าน้ํา และไวน์กล้วยน้ําว้า ขณะที่ลูกหม่อนหรือมัลเบอร์รีเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมนํามาผลิตเป็นไวน์แดง
เนื่องจากมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ผลของลูกหม่อนอุดมด้วยสารสําคัญที่มีประโยชน์ มากมาย ได้แก่ สารฟีนอลิกที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ และแอนโทไซยานินต้านการอักเสบ ลดไขมันในเส้นเลือด และยังมีผลต่อการป้องกันเซลล์ประสาท นอกจากนี้ผลหม่อนสุกยังพบ สารประกอบพวกฟลาโวนอยด์และแอนโทไซยานิน เช่น rutin quercetin, isoquercetin, cholorogenic acid, gallic acid และ caffeic acid โดยนิยมบริโภคในรูปแบบผลสดและนํา มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น แยม เยลลี่ น้ําลูกหม่อนพร้อมดื่ม และไวน์ลูกหม่อน

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
พัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ําว้าและมัลเบอร์รีให้เข้าถึงผู้บริโภค นวัตกรรมทางการเกษตรและอาหาร รวมถึงแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรมส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และ ยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสําหรับทุกคน

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566