ค้นหา

ต้นแบบ “โรงเรือนปลูกข้าวอัจฉริยะแบบลอยน้ำ” ผลงาน นักศึกษาวิศวกรรมเกษตรอุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี

นายภัทรดิษฐ์ สุทธิทรัพย์, นายฐาปกรณ์ เสร็จกิจ, น.ส.พรนภัส ชำนาญไพร, นายพีรพล พึ่งทวี, นายจักกฤษ มั่งมี, นายวิสิฐพงษ์ ไชยฟู, น.ส.อารีญา ทนช่างยา, นายณัฐกานต์ เอี่ยมบรรจง, นายจักรพันธ์ รัตนพันธ์, นายนันทิพัฒน์ วงปัตตา, น.ส.ยศวดี ศรีคง, น.ส.ณิชาภัทร บัวสำลี, น.ส.หทัยภัทร หนูสี และ น.ส.อัณณ์ญาดา กมลโรจน์ธนากุล ซึ่งมี รศ.ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง และ ดร.วิพุธ ตุวยานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วิศวกรรมเกษตรอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี)
เข้าชม 177 ครั้ง

นักวิจัย :

นายภัทรดิษฐ์ สุทธิทรัพย์, นายฐาปกรณ์ เสร็จกิจ, น.ส.พรนภัส ชำนาญไพร, นายพีรพล พึ่งทวี, นายจักกฤษ มั่งมี, นายวิสิฐพงษ์ ไชยฟู, น.ส.อารีญา ทนช่างยา, นายณัฐกานต์ เอี่ยมบรรจง, นายจักรพันธ์ รัตนพันธ์, นายนันทิพัฒน์ วงปัตตา, น.ส.ยศวดี ศรีคง, น.ส.ณิชาภัทร บัวสำลี, น.ส.หทัยภัทร หนูสี และ น.ส.อัณณ์ญาดา กมลโรจน์ธนากุล ซึ่งมี รศ.ดร.เกรียงไกร แซมสีม่วง และ ดร.วิพุธ ตุวยานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วิศวกรรมเกษตรอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี)

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :

โรงเรือนต้นแบบ

ที่ตั้งของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีการทำนาปลูกข้าวมากมาย แต่ปัจจุบันเกษตรกรทั้งรายใหญ่และรายย่อยต่างประสบปัญหาหลายด้าน เช่น การเพาะปลูก เทคโนโลยี ความคุ้มค่า รวมถึงการตลาด จึงอยากออกแบบและสร้างต้นแบบโรงเรือนปลูกข้าวอัจฉริยะแบบลอยน้ำที่มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย เพื่อประหยัดแรงงานคน และให้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ

โรงเรือนปลูกข้าวอัจฉริยะ

โรงเรือนปลูกข้าวอัจฉริยะแบบลอยน้ำนั้น จะมีฟังก์ชันการทำงานที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ที่สอดรับเกษตรกรที่ปลูกข้าว และสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นโรงเรือนที่ลอยน้ำได้ตามระดับน้ำ เพื่อลดและประหยัดพื้นที่ในการเพาะปลูก ตัวโรงเรือนโดยรอบมุงด้วยตาข่าย ที่จะช่วยระบายอากาศได้ดี สอดรับกับสภาพอากาศของประเทศไทย อีกจุดเด่นของโรงเรือนก็คือ สามารถตั้งเวลาในการรดน้ำได้ วัดอุณหภูมิความชื้นในดินที่เพาะปลูก วัดอุณหภูมิของต้นข้าว และอุณหภูมิโดยรวมของเรือนได้ผ่านจอแสดงผล ขณะเดียวกัน ยังติดไฟส่องสว่างร่วมด้วย ซึ่งมีโซลาร์เซลล์กักเก็บพลังงาน ซึ่งจะทำให้สามารถติดตาม ควบคุม และคาดการณ์ผลผลิตได้แม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงมีความคุ้มค่าในระยะยาวต่อการเพาะปลูก

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :

  • ลดและประหยัดพื้นที่ในการเพาะปลูก
  • ประหยัดแรงงานคน
  • ควบคุมปัจจัยในการเพาะปลูกข้าวได้
  • คาดการณ์ผลผลิตได้แม่นยำยิ่งขึ้น
แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_263108