ค้นหา

เครื่องย่อยขยะอินทรีย์ ย่อย ‘ปลาหมอคางดำ‘ ให้กลายเป็นดินออร์แกนิก ภายใน 30 นาที

ฐานันดร ชินะเมธา/ประธานบริษัท Chief Executive Officer
เข้าชม 23 ครั้ง

นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
ฐานันดร ชินะเมธา ประธานบริษัท Chief Executive Officer

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น : การจัดการน้ำและขยะมูลฝอยด้วยการใช้ธรรมชาติ โดยนักวิจัยเริ่มศึกษาและปฏิบัติตามรอยศาสตร์พระราชา ซึ่งได้ทดลองและค้นพบคือ ขบวนการใช้อากาศให้เป็นตัวย่อยสลายขยะ เมื่อเข้าใจวิธีการและทดลองทำจนประสบผลสำเร็จ สามารถเข้าไปพัฒนาและบริหารจัดการขยะในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ เช่น บ่อกำจัดขยะมูลฝอยภายในหน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรือ ศูนย์ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้งปัญหาปลาหมอคางดำที่กำลังแพร่พันธุ์อยู่ในขณะนี้ มีการจับขึ้นมาทำลายการแพร่พันธุ์ทั้งปลาสดๆ และปลาที่ต้มแล้ว โดยการนำเข้าเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ พบว่าซากปลาหมอคางดำเปลี่ยนสภาพเป็นดินออร์แกนิกที่แห้งและไม่มีกลิ่น สามารถนำดินออร์แกนิกมาใช้ปลูกพืชหรือปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ และปลอดภัยจากสารเคมีด้วย

ความสำคัญของปัญหา : การระบาดของปลาหมอคางดำส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทุกพื้นที่ อาทิ บริเวณทะเลบางขุนเทียนมีปลาหมอคางดำเข้ามากินลูกหอยแครง จังหวัดเพชรบุรีมีปลาหมอคางดำเข้ามากินลูกปูม้า /ปูแสม รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กอีกมากมาย ซึ่งส่งผลในอนาคตที่มีการกระจายพันธุ์ของปลาหมอคางดำอย่างรวดเร็วจนไม่เหลือทรัพยากรในท้องถิ่น ในปัจจุบันการจัดการแพร่พันธุ์ปลาหมอคางดำในพื้นที่เป็นไปได้ยาก เพราะปลาหมอคางดำจำนวนมากมายมหาศาล ไม่มีราคาที่จะจูงใจให้คนจับมาทำการค้าขายสร้างเศรษฐกิจ ทำให้ต้องหาวิธีทำลายการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ต่อไป

จุดเด่นนวัตกรรม :
เครื่องย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่ออกแบบมาเพื่อย่อยสลายขยะอินทรีย์ ภายในระยะเวลา 15-30 นาที โดยสามารถย่อยสลายเศษอาหาร เศษผักผลไม้ หรือขยะจากการเกษตรให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือดินออร์แกนิกที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์/คุณค่าต่อได้ โดยสามารถใช้งานได้ทุกที่ ทั้งโรงงาน โรงแรม หมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า ตลาดและครัวเรือน

เครื่องย่อยสลายขยะอินทรีย์ ทำงานโดยใช้กระบวนการชีวภาพ โดยมีจุลินทรีย์เข้ามาช่วยเร่งการย่อยสลาย มีระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเพื่อให้กระบวนการย่อยสลายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดขยะอินทรีย์ได้ประมาณวันละ 1 ตัน ประโยชน์ที่ได้คือ ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ในเกษตรกรรมและปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะและปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย

การทำงานของเครื่องย่อยขยะอินทรีย์จะย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ที่ทำงานในสภาวะควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณออกซิเจน ซึ่งปกติจะใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ แต่สำหรับเครื่องนี้ได้รับการพัฒนานวัตกรรมจนสามารถใช้เวลาในกระบวนการย่อยสลายไม่เกิน 30 นาที เท่านั้น


ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
ฐานันดร ชินะเมธา ประธานบริษัท Chief Executive Officer

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.agrinewsthai.com/agricultural-technology/148910