นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น :
ยางพาราเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่ทำให้เกิดการสร้างงานและอาชีพในชนบท ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน นอกจากนี้ ยางพารายังช่วยในการรักษาสภาพแวดล้อม เนื่องจากยางพาราเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่งมีพื้นที่การเพาะปลูกทั่วประเทศ ในปัจจุบันสามารถเป็นพืชทดแทนป่าไม้ ที่มีจำนวนลดลงและเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศไทยให้มีมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของปัญหา :
ประเทศจีนเป็นผู้นำเทรนด์เกี่ยวกับนวัตกรรม โดยหุ่นยนต์กรีดยางพาราของจีน ต้องติดตั้งจำนวน 1 ตัว / 1 ต้นยางพารา ถ้าสวนยางพารามีจำนวนหนึ่งพันต้น จะต้องติดตั้งหุ่นยนต์ทั้งหมดหนึ่งพันตัว ยิ่งจำนวนต้นยางพารามีจำนวนมาก จะต้องใช้การติดตั้งหุ่นยนต์จำนวนมากขึ้น นักวิจัยของไทยจึงได้นำจุดด้อยนี้ มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์เกษตรกรกรีดยาง ช่วยลดการใช้แรงงาน ใช้หุ่นยนต์เพียงแค่ 1 ตัว สามารถกรีดยางได้ทั้งสวน
จุดเด่นนวัตกรรม :
– มีการออกแบบหุ่นยนต์ให้สามารถวิ่งบนสลิงได้ ข้อดีคือ หุ่นยนต์สามารถวิ่งบนทางลาดชัน วิ่งในรูปแบบโค้งและเอียงได้
– มีเซ็นเซอร์คอยตรวจสอบการกรีดยางไม่ให้โดนแก่น โดยหุ่นยนต์จะกรีดที่ชั้นเนื้อเยื่อเท่านั้น
– ระยะเวลาในการใช้หุ่นยนต์กรีดยางพารา ใช้เวลาประมาณ 15 วินาที ต่อ 1 ต้น
– ใช้พลังงานไฟฟ้าได้หลากหลายแหล่ง เช่น แบตเตอรี่ ปั่นไฟ โซลาร์เซลล์ หรือใช้ไฟบ้านแปลงเป็น DC 24v
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ
Facebook : ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีองค์รวมและปัญญาประดิษฐ์ I2TAC