มหาวิทยาลัยเกษตรภาคใต้จีนนำโดยศาสตราจารย์หลิว เฉิงหมิง ผู้เชี่ยวชาญในทีมวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ลำไย ระบบเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่มณฑลกวางตุ้ง เปิดตัว “ลำไยพันธุ์ชุ่ยมี่” (脆蜜, Cuimi แปลภาษาจีนคือน้ำผึ้งกรอบ) เป็นครั้งแรกของโลก
“ลำไยพันธุ์ชุ่ยมี่” เป็นพันธุ์ลำไยชนิดใหม่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างลำไยและลิ้นจี่ โดยเป็นการผสมข้ามต้นลำไยเพศเมียของพันธุ์สือเสีย (石硖, Shixia) และต้นลิ้นจี่เพศผู้ของพันธุ์จื่อเหนียงสี่ (紫娘喜, Ziniangxi) ตั้งชื่อใหม่ว่า สือจื่อชุ่ยมี่ (石紫脆蜜, Shizicuimi) หรือ ชุ่ยมี่ SZ52
“ลำไยพันธุ์ชุ่ยมี่” เปลือกมีสีเหลืองอมเขียว ผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักผลต่อลูกเฉลี่ย 11.4 กรัม เนื้อค่อนข้างหนาและมีความนุ่มกรอบ มีกลิ่นหอม ไม่มีกาก สัดส่วนที่รับประทานต่อผลประมาณร้อยละ 70.8 มีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ระดับร้อยละ 20 – 24 ระยะให้ผลผลิตจะช้ากว่าลำไยทั่วไป มีความแข็งแรงต่อการอยู่รอด ต้านทานความหนาวเย็น สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการเพาะปลูกและการพัฒนาได้อีกมาก
สำหรับโครงการพัฒนาปรับปรุงพันธ์ุนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2533 ในช่วงนั้นมีประเด็นร้อนในแวดวงวิชาการการเพาะพันธุ์ไม้ผล เกี่ยวกับ hybridization ซึ่งเป็นการนํา protoplast ของพืชต่างกัน 2ชนิด (species) ต่างสกุล (genus) ต่างวงศ์ (family) มาทํา cell fusion โดยคน
หลังจากนั้นดําเนินการ cultivation in vitro (isolated culture) และใช้เทคนิค การสร้างพันธุ์พืชลูกผสมใหม่(techniques for regenerating hybrid plants) เป็นการผสมแบบไม่มีเพศ ซึ่งทีมนักวิจัยหลายทีมก็ได้ดําเนินงาน แต่ก็ไม่มีผลลัพธ์ออกมา ศ.หลิว เฉิงหมิง จึงได้ปรับเปลี่ยนการผสมพันธุ์แบบมีเพศของสองสกุลแทน และค้นหาเทคนิคใน protoplast fusion หรือ plant somatic การพัฒนาพันธุ์ลูกผสม ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน จนเป็นผลสําเร็จในวันนี้
เมื่อคิดค้นเทคนิคได้แล้ว ทีมพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ได้เริ่มผสมพันธุ์ลําไยและลิ้นจี่สายพันธุ์ต่างๆ จนพัฒนาได้พันธุ์ผสมในปี 2550 โดยใช้แม่พันธุ์ลำไยสือเสีย และพันธุ์ลิ้นจี่จื่อเหนียงสี่(ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่มหวานฉ่ำ) และได้ทดลองปรับปรุงพัฒนาคัดเลือก จนได้สายพันธุ์ SZ52 ในปี 2557 ซึ่งทางทีมวิจัยได้ทดลองนําไปปลูกในพื้นที่ทดลองต่างๆในปี 2560
ปัจจุบันลําไยพันธุ์ชุ่ยมี่ ได้มีการทดลองเพาะปลูกในมณฑลกวางตุง ในเมืองแต้จิ๋ว เมืองจานเจียง เขตฉงฮวาของนครกวางโจว และเมืองระดับอําเภอเหลียนโจวของ เมืองชิงหยวน เมืองหลูโจวในมณฑลเสฉวน เขตหยงชวนของนครฉงชิ่ง เป็นต้น
ลําไยชุ่ยมี่ มีระยะเวลาเก็บเกี่ยวช้ากว่าลําไยสือเสีย 15 – 20 วัน โดยการปลูกที่นครกวางโจว จะเริ่มเก็บผลผลิตได้ ในช่วงกลาง-ปลายเดือนสิงหาคม
นายหลิว รุ่ยปัว ผู้ดูแลสวนผลไม้ฉงฮวาลี่ติ่งสุยซี ในนครกวางโจวให้ข้อมูลว่า ทางสวนได้ตัดต่อกิ่งลำไยชุ่ยมี่เมื่อเดือนมีนาคมปี 2563 จํานวน 100 กว่าต้น ซึ่งในปี 2564 ก็เริ่มติดผล แสดงให้เห็นว่า ลําไยชุ่ยมี่มีความแข็งแรงและเติบโตได้ดี เนื่องจากมีใบย่อย 7 คู่(ขณะที่ลําไยสือเสียมีใบย่อย 5 คู่ ลิ้นจี่จื่อเหนียงสี่มีใบย่อย 3 คู่) และใบมีขนาดใหญ ทําให้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงดี มีช่อดอกและช่อผลใหญี่ปุ่น ง่ายต่อการบรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีเสถียรภาพ ซึ่งชุ่ยมี่ในสวน จะเก็บเกี่ยวได้จนถึงกลางเดือนกันยายน คาดว่าผลผลิตในสวนจะมีประมาณ 4,000 – 5,000 กก. ซึ่งผลผลิตของทางสวนได้ถูกจองซื้อล่วงหน้าไปหมดแล้ว
นอกจากนี้ลําไยชุ่ยมี่ ยังมีคุณลักษณะพิเศษที่สําคัญคือ ทนต่ออุณหภูมิต่ำและความหนาวเย็นได้ดี เมื่อเดือนมกราคม 2564 เมืองแตจิ๋ว มีอุณหภูมิต่ำอยู่ที่ -3 ถึง -4 องศาเซลเซียส พบว่าในพื้นที่เดียวกัน กิ่งลําไยสือเสีย ได้รับผลกระทบอย่างมากจากอุณหภูมิต่ำ ใบแห้งเป็นสีเหลืองและม้วนงอ ระดับความเสียหายจากอุณหภูมิต่ำรุนแรงถึงระดับ 4
ในขณะที่ลําไยชุ่ยมี่ ใบได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ระดับความเสียหายจากอุณหภูมิต่ำอยู่ที่เพียงระดับ1 ส่งผลให้สามารถขยายการเพาะปลูกขึ้นไปยังทางเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งในช่วงฤดูหนาว มีอากาศที่เย็นกว่าทางใต้ รวมถึงดึงระยะเวลาให้ผลผลิตออกไปได้
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : ฝ่ายเกษตรประจำกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว