ค้นหา

กลุ่มเพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน วิสาหกิจชุมชนเพื่อคนในท้องถิ่น

ไทยรัฐออนไลน์
เข้าชม 822 ครั้ง

เดิมทำงานระดับหัวหน้าในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อราว 15 ปีที่แล้ว เริ่มอยากเป็นนายตัวเอง และมีเวลาอยู่กับครอบครัว เลยลาออกมาทำนาทำไร่ แต่ไม่ตอบโจทย์เรื่องของรายได้ โดยเฉพาะช่วงหลังนา ผู้นำชุมชน ทั้งผู้ใหญ่บ้าน อบต. เลยมานัดประชุมหมู่บ้าน เพื่อหาอาชีพหลังการทำนา ที่ประชุมเล็งเห็นว่าอาชีพเห็ดหูหนูน่าสนใจ เลยเขียนโครงการไปที่โรงไฟฟ้าในพื้นที่ผ่านหน่วยงาน อบต. ได้รับการสนับสนุนเป็นอุปกรณ์คือ เตานึ่ง โม่ผสมเห็ด ตะแกรงเห็ด ปี 2557 จึงไปจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 20 ราย จนปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 98 ราย”

กลุ่มเพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน วิสาหกิจชุมชนเพื่อคนในท้องถิ่น

บุญนำ มีชาลือ เหรัญญิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน หมู่ 6 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี ในฐานะผู้ดูแลกลุ่ม บอกถึงที่มาของกลุ่มเพาะเห็ด ที่เดิมตั้งใจจะทำเป็นอาชีพเสริม แต่ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพหลักให้คนในชุมชนแถบนี้ สร้างเงินสร้างงานให้คนท้องถิ่น

การปลูกเห็ดหูหนู อันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงคือโรงเรือนจะขนาดเท่าไรก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ที่นี่ใช้ขนาด 6×9 เมตร แขวนเห็ดได้ 3,000 ก้อน ที่สำคัญหากอยากได้ผลผลิตดีควรเป็นโรงเรือนโปร่งโล่ง มุงหลังคาด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น หญ้าคา แฝก หรือจาก ไม่แนะนำให้ใช้เมทัลชีทหรือกระเบื้อง เพราะเห็ดไม่ชอบอากาศร้อนจัด ทำให้ดอกออกต่ำกว่ามาตรฐาน สำคัญที่สุดคือน้ำต้องถึง

กลุ่มเพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน วิสาหกิจชุมชนเพื่อคนในท้องถิ่น

ส่วนอันดับต่อมา บุญนำแนะ…ก้อนเชื้อเห็ดให้ใช้ขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อนจะดีมาก เพราะเห็ดกินอาหารได้ดีกว่าไม้เนื้อแข็ง ทำให้ออกดอกดี จะเป็นไม้อะไรก็ได้ใช้ไม้ยางพาราสั่งจาก จ.สุราษฎร์ธานีและพัทลุงเดือนละ 13 รถสิบล้อ หรือ 13 ตัน ราคาตันละ 1,700 บาท จากนั้นนำก้อนเชื้อเห็ดเข้าสู่กระบวนการบ่มเชื้อ 40–45 วัน ให้เชื้อเดิน โดยแขวนในสถานที่โล่งโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก โดยที่ไม่ต้องทำอะไรแม้แต่รดน้ำ แต่จะฉีดน้ำส้มควันไม้เพื่อกันแมลงทุก 5–7 วัน เพราะขี้เลื่อยนึ่งใหม่จะหอมดึงดูดแมลง

ต่อมาจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดดอกโดยใช้มีดกรีดเป็นแนวเฉียงข้างถุงเชื้อ 10-14 แผล เพื่อให้เห็ดออกตามรอยที่กรีด แล้วจึงนำไปแขวนมัดโยงในโรงเรือน โดยเห็ดหูหนูต่างจากเห็ดอื่นที่ใช้วางเป็นชั้น เพราะไม่ได้ออกดอกทางด้านจุกหรือด้านหัว แต่ออกตามแผลกรีด โดย
ที่นี่จะมัดโยงพวงละ 10 ก้อน ให้น้ำทุก 3-4 ชม. โดยเปิดระบบสปริงเกอร์รอบละ 2 นาที ทำเช่นนี้ไป 20-25 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

“เราจะเน้นจ้างงานในชุมชน โดยกลุ่มจะจ้างเป็นแรงงานไม่ต่ำกว่าวันละ 10 คน เน้นวัยรุ่นก่อน เพราะต้องมาผสมก้อนเชื้อในเครื่องผสม แรงงานอีกชุด ก็คือคนเปลี่ยนเชื้อตอน ตี 4 ถึง ตี 5 แล้วก็มีแรงงานขึ้นเตานึ่ง และแรงงานอีกส่วนนำก้อนที่อัดแล้วไปขึ้นเตา รวมถึงแรงงานตัดแต่งดอกหลังเก็บเกี่ยว โดยแต่ละวันวิสาหกิจชุมชนจะจ้างแรงงานเฉลี่ยวันละ 4,000 บาท”.

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.thairath.co.th/news/local/central/2580963