ค้นหา

ทุเรียนไม่พอขาย!! สุดยอดแปลงใหญ่ “ทุเรียนชำฆ้อ”

นายนิรุธ ทองกำเนิด
เข้าชม 411 ครั้ง

นายนิรุธ ทองกำเนิด ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง กล่าวว่า ตนได้คลุกคลีอยู่กับการปลูกทุเรียนมาตั้งแต่เกิด แต่การปลูกทุเรียนแบบรายเดี่ยวทำให้เกษตรกรเกิดปัญหา ทั้งในด้านความรู้การผลิตและการจำหน่าย ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มโดยได้รับการส่งเสริมจากการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งนักวิชาการจากสำนักงานเกษตรอำเภอเขาชะเมาได้เข้ามาส่งเสริมเกษตรกรในเรื่องของการรวมกลุ่ม สมาชิก 40 คน พื้นที่โดยรวมประมาณ 300 ไร่

ทั้งนี้กว่าร้อยละ 80 ผลผลิตทุเรียนของกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง เป็นทุเรียนคุณภาพพรีเมียมเพื่อการส่งออกและได้รับมาตรฐานการันตีคุณภาพทุเรียน ด้วยมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices  (GAP) และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ผ่าน QR Code ที่มีข้อมูลระบุชัดเจนของผู้ปลูก บริเวณที่ปลูก สายพันธุ์ วันที่เก็บเกี่ยว เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมของกลุ่มจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย อาทิ การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร พัฒนาการยกระดับในการปลูกทุเรียน การแนะนำแนวทางการให้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีให้ถูกต้องตามความต้องการของพืชและในปริมาณที่เหมาะสม และถูกระยะเวลา การลดต้นทุนโดยการใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งช่วยลดต้นทุกมากสูงสุดร้อยละ 30 นอกจากนี้จะมีการวางแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุนในการรวมกันซื้อวัสดุ อุปกรณ์ทางการเกษตร และการจ้างงานจากแรงงานในพื้นที่เพื่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน

การรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ทำให้เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ยังสามารถสร้างความเข้มแข็งในด้านการเชื่อมโยงระบบการส่งเสริมจากรัฐบาล ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่เข้ามาส่งเสริม พัฒนา และขยายผลการผลิตทุเรียนของกลุ่มฯ ทำให้เป็นการยกระดับ เพิ่มศักยภาพในการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นางประทุมทิพย์ สินเปี่ยม เกษตรอำเภอเขาชะเมา กล่าวว่า สำนักงานเกษตรอำเภอเขาชะเมาได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ โดยมีการส่งเสริมเกษตรกรทั้งหมด 5 ด้าน คือ

1.การลดต้นทุนการผลิต เช่น การส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยและสารเคมมีที่ถูกต้อง ถูกเวลา ในปริมาณที่เหมาะสม และรณรงค์ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีภัณฑ์ต่างๆใช้เอง เดิมเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตทุเรียน 22,700 บาท ต่อไร่ ต่อมามีการลดต้นทุนเหลือเพียง 19,300 บาท ต่อไร่
2.การเพิ่มผลผลิต เช่น ส่งเสริมเทคนิคการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ทุเรียนต้องการ การตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม การตัดแต่งดอกทุเรียน การตัดแต่งผลทุเรียน การโยงกิ่ง ซึ่งในปีที่ผ่านมาทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20
3.การพัฒนาทุเรียนให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน โดยส่งเสริมการผลิตให้เกษตรกรได้รับตามมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) ทุกแปลง
4.การบริหารจัดการ โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรประชุม แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง
5.ด้านการตลาด จากเดิมเกษตรกรจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลาง และล้ง ด้านสำนักงานเกษตรอำเภอเขาชะเมาได้มีการส่งเสริมเกษตรกรให้จำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์

โดยจะมีการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนกล่องบรรจุภัณฑ์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งปัจจุบันกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง มีการตื่นตัวและปรับตัวในการจำหน่ายช่องทางใหม่ๆ ตามกระแสความต้องการของผู้บริโภค อาทิ การจำหน่ายออนไลน์ ผ่าน www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com ของกรมส่งเสริมการเกษตรและผ่าน Page Facebook แปลงใหญ่ทุเรียนชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ซึ่งเกษตรกรและผู้บริโภคจะสามารถพูดคุย ซื้อขาย และตกลงราคาที่เหมาะสมกันได้โดยตรง

นายนิรุธ ทองกำเนิด ประธานแปลงใหญ่ทุเรียนชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านการบริหารจัดการการตลาดของกลุ่มฯ สามารถต่อรองราคากับพ่อค้า ล้งรับซื้อ ได้ดียิ่งขึ้น ไม่เหมือนแต่เดิมที่ไม่มีการรวมกลุ่ม ทำให้พ่อค้าคนกลางเข้ามากดราคากับเกษตรกรได้โดยตรง เกษตรกรบางรายที่ไม่มีประสบการณ์ และทำผลผลิตทุเรียนออกมาไม่ได้ตามมาตรฐาน มีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพ่อค้า ก็จะถูกประเมินในราคาที่ต่ำ แต่เมื่อได้มีการรวมกลุ่มฯแล้วนั้น กลุ่มฯสามารถกำหนดราคาทุเรียนได้อย่างเหมาะสม

สำหรับกิจกรรมของกลุ่มฯ จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย อาทิ การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร พัฒนาการยกระดับในการปลูกทุเรียน การแนะนำแนวทางการให้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีให้ถูกต้องตามความต้องการของพืชและในปริมาณที่เหมาะสม และถูกระยะเวลา การลดต้นทุนโดยการใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนสูงสุดถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้จะมีการวางแผนการผลิต การรวมกันซื้อวัสดุ อุปกรณ์ทางการเกษตร และการจ้างงานจากแรงงานในพื้นที่เพื่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://siamrath.co.th/n/439937