จากภาวะโลกร้อน เรากำลังข้าสู่ภาวะโลกแล้งอย่างเป็นทางการ ภัยแล้ง ที่น่ากลัวเริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ปริมาณน้ำต้นทุนที่ลดน้อยลงทุกวัน ปริมาณฝนที่ตกน้อยลงและทิ้งช่วง เหล่านี้คือสัญญาณโลกแล้งที่ประเทศกำลังจะต้องเผชิญต่อไปอีก 2 ปี
Dialogue Forum 2 Year 4 จึงได้จัด เสวนา “เอลนีโญ” จากโลกร้อนสู่โลกแล้ง เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ นักวิชาการ ในการเตรียมความพร้อมรับมือสภาพอากาศแปรปรวนจากปรากฎการณ์เอลนีโญ รวมไปถึงการรับฟังปัญหาจากภาคประชาชน เกษตรกรในพื้นที่ลุ่ม เพื่อนำปัญหาไปวางแผนสำหรับหาแนวทางลดผลกระทบ และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยแล้ง ที่เริ่มส่อเค้าค่อยๆ ปรากฎขึ้นซึ่งเราจะเห็นได้จากฝนที่เริ่มตกทิ้งช่วงในระยะนี้
โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา MQDC และผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติมหาวิทยาลัย ได้สรุป ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” และผลกระทบที่เกิดขึ้นนับจากนี้ไปจนถึงปี 2567 ว่า จากข้อมูลที่เลขาธิการสหประชาติ(UN) ที่ออกมาบอกว่าขณะนี้เลยจุดโลกร้อนมาแล้ว และกำลังเข้าสู่จุดโลกเดือด เพราะที่ผ่านมาอุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศเผชิญกับภาวะคลื่นความร้อนอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน สำหรับประเทศไทยเราพบว่าเกิดอุณหภูมิที่ร้อนแบบสุดๆ ในช่วงเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นนั้นหลักๆ มากจากการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่พัดพาเอาลมร้อนจากทะเลขึ้นมา โดยขณะนี้ เอลนีโญ อยู่ในที่มีความมีรุนแรงสูงสุดแล้ว และนับตั้งแต่เดือนส.ค. ปี 2566 ไปจนถึงเดือนพ.ค. ปี 2567 จะเกิดภาวะแห้งแล้ง และฝนตกน้อยลง โดยคาดว่าในช่วงเดือนต.ค.ปี 2566 นี้ฝนจะตกน้อยลงอย่างมากและจะเป็นฝนในช่วงสุดท้ายของฤดูฝนนี้
สิ่งที่น่ากังวลนับจากนี้คือ การหามาตรการช่วยเหลือและเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำน้อยนับจากนี้ไปจนถึงช่วงฤดูฝนปี 2567 หรือในช่วงเดือนพ.ค.ปีหน้า เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ปริมาณฝนปีนี้ต่อเนื่องปีหน้าจะลดน้อยลง จนสถานการณ์ไปคล้ายกับปี 2562-2563 ที่ผ่านมา เพราะ “เอลนีโญ” จะอยู่ยาวต่อเนื่องไปอีก 2 ปี และเข้าสู่โหมดความรุนแรงสูงสุดและในเดือน ม.ค. ปี 2568 ปรากฏการณ์เอลนีโญจึงจะสงบลง ดังนั้นในระยะที่ “เอลนีโญ” รุนแรง แน่นอนว่าฝนปีนี้จะต่ำกว่าที่คาดการณ์ น้ำที่ไหลเข้าเขื่อนก็จะน้อยลงไปด้วย โดยคาดการณ์ว่าตั้งแต่ ก.ย.-พ.ย. 2566 ฝนจะตกน้อยลงแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมคือการสำรองน้ำสำหรับภาคการเกษตร ภาคอุปโภคบริโภค ภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการดูแลเยียวยาเกษตรด้วย คำบอกเล่าจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและภัยพิบัติ
ด้านนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ (สทนช.) อธิบายถึงแผนการบริหารจัดการทำ และการจัดสรรน้ำสำหรับการทำกิจกรรมเอาไว้ ว่า ปัจจุบันปรากฎการณ์ “เอลนีโญ” เริ่มส่งผลกระทบแล้ว ซึ่งจากข้อมูลของ สทนช. พบว่าฝนที่ตกลงมาในระยะนี้มีกจะตกในพื้นที่ชายขอบบริเวณภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีเขื่อน ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนนั้นมีน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้เรายังพบว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2566-2567 มีความคล้ายกับปี 2562-2563 นั้นหมายความปีนี้เรามีข้อมูลมากพอและมีประสบการณ์จากภัยแล้งในปี 2562-2563 ทำให้ สทนช. ได้วางแผนแและคาดการณ์สถานการณ์ฝน และปริมาณน้ำในเขื่อนได้ดีขึ้นมีการออกมาตรการรองรับไว้เพื่อลดผลกระทบ ความเสียหายจากภัยแล้งที่จะเกิดกับเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ได้เร็วกว่าครั้งที่ผ่านๆ มา และมั่นใจว่าจะสามารถบริหารจัดการน้ำและพยุงสถานการณ์ไปจนกว่าจะถึงฤดูฝนปี 2567
นายฐนโรจน์ กล่าวต่อว่า หัวใจหลักในการจัดการนำในช่วงตั้งแต่ ก.ย. 2566 ไปจนถึง พ.ค. 2567 คือ การเตรียมแผนสำหรับบริหารจัดการน้ำไปเพียงพอพ่อภาคอุปโภค บริโภค ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเบื้องต้น สทนช.จะติดตามปริมาณน้ำฝนต่อเนื่อง หากพบว่าฝนตกท้ายเขื่อนก็จะผลันน้ำลงมากักเก็บในเขื่อน เพื่อที่จะได้มีน้ำพอใช้สำหรับฤดูฝนปีหน้า ส่วนภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าในโซนพื้นที่ภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่อื่นๆ สทนช.ได้มีการเตรียมถ่านย่ำลงในอ่างเก็ยน้ำประแส อ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อสำรองสำหรับภาคอุตสาหกรรม ส่วนภาคการเกษตรได้มีการแจ้งข้อมูลปริมาณน้ำและมาตรการล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรได้พิจารณาว่าจะทำนาต่อเนื่องหรือไม่ เพราะลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดภาวะน้ำแล้งน้ำน้อย ดังนั้นข้อมูลที่จะสื่อสารไปยังภาคการเกษตรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ สทนช. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะหากไม่แจ้งเตือนก่อนเกษตรกรจะไม่มีข้อมูล และหากมีการลงทุนทำนาไปจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
“การคาดการณ์ภัยแล้งที่ สทนช. ดำเนินการนั้นเป็นการคาดการณ์ในระยะ 2 ปี ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสม เราไม่สามารถคาดการณ์ระยะนาวได้นานกว่านี้ เนื่องจากจะต้องมีการติดตามสถานการณ์ และปรับแผนให้สอดคล้องกับปัญหาในช่วงนั้นๆ แต่ข้อมูลในอดีตที่เราปีจะทำให้เราเตรียมความพร้อมได้เร็วมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการที่จะประเทศก้าวผ่านช่วงฤดูแล้งไปจนถึงปีหน้า ดังนั้นหากประชาชนทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการ ข้อเสนอแนะ สทนช.มั่นใจว่าจะฝ่าวิกฤตภัยแล้นี้ไปได้” นายฐนโรจน์ กล่าว
แม้ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญอาจจะไม่ได้อยู่ต่อเนื่องตลอดไป แต่ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีแผนรองรับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) ระบุถึงแผนดำเนินการแก้ปัญหาภาวะภัยแล้งจาก เอลนีโญ เอาไว้ดังนี้
ประการแรก เริ่มจากแบ่งพื้นที่ในเขตชุมชนสำหรับเริ่มจากแบ่งพื้นที่ในเขตชุมชนสำหรับบริหารจัดการน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค เพราะหากเผชิญกับภาวะภัยแล้งและน้ำเพราะหากเผชิญกับภาวะภัยแล้งและน้ำน้อย จากนี้ไปประมาณ 3-4 เดือน ระบบการผลิตน้ำระบบการผลิตน้ำประปาสาต้องประเชิญกับปัญหาน้ำเค็มรุก ดังนั้นจะต้องมีการจัดสรรน้ำดิบดังนั้นจะต้องมีการจัดสรรน้ำดิบเพื่อไล่น้ำเค็ม
ประการที่สอง บริหารจัดการพื้นที่ชลประทาน และพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้ดี เพราะในปีนี้ ราคาข้าวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 11 ปีเนื่องจากทั่วโลกเผชิญกับปัญหาเอลนีโญ ดังนั้นความต้องการทำนาดังนั้นความต้องการทำนาข้าวของเกษตรกรจะเพิ่มสูงมากขึ้น การระดมปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้งอาจจะมีมากขึ้นกว่า สิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำสิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำคือการจัดสรรน้ำให้พอเหมาะและไม่กระทบกับภาคส่วนอื่นๆ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมมาตรการเยียวยา โดยอาจจะกำหนดโดยอาจจะกำหนดให้มีการชดเชยความเสียหาย ของพืชผลทางการเกษตร 2,000 บาทต่อไร่ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 4,000-6000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังซ้ำนอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรเพื่อชดเชยความเสียหายและชดเชยการปลูกพืชที่ทำไม่ได้
ประการที่สาม ต้องมีมาตรการเป็นพิเศษในพื้นที่อ่อนไหวสูงโดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลูกไม้ผลพื้นที่ภาคตะวันออกที่เผชิญกับปัญหาฝนตกน้อย
ประการที่สี่ เพิ่มปริมาณพื้นที่กักเก็บน้ำในเพิ่มปริมาณพื้นที่กักเก็บน้ำ นอกเขตชลประทาน โดยการขยาย อ่างเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่นอกเขตชลประทานมีจุดที่สามารถกักเก็บน้ำได้ราว 25% และในอนาคตประมาณปี 2580 จะมีโครงการก่อสร้าง. กักเก็บน้ำอ่างกักเก็บน้ำ ซึ่งจะทำให้ ซึ่งจะทำให้พื้นที่นอกเขตชลประทานสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้มากถึง 80%
นอกจากนี้จำเป็นจะนอกจากนี้จำเป็นจะต้องดูแลในเรื่องของรายได้ที่อาจจะหายไปเพราะการเพาะปลูกไม่วามารถทำได้เต็มที่ ปัญหาเหล่านี้ถือว่าเป็นโจทย์หลักที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งดำเนินการปัญหาเหล่านี้ถือว่าเป็นโจทย์หลักที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ และจะต้อง กำหนดให้ปัญหาภัยแล้ง จากปรากฎการณ์ เอลนีโญ มาเป็น นโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ นโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการทันที
ด้านความคิดเห็นจากภาคประชาชน ที่เป็นกลุ่มตัวแทนจากสภาเกษตรจ.อ่างทอง และ กลุ่มผู้มใช้น้ำโครงการส่งน้ำและยำรุกงรักษามโนรมย์จ.ชัยนาท ระบุว่า ต้องการให้เกิดการบริหารจัดการน้ำต้องการให้เกิดการบริหารจัดการน้ำแบบภาพรวม ถังช่วงหน้าน้ำถังช่วงหน้าน้ำแรงและหน้าน้ำท่วม เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหา ในช่วงฤดูแล้งจะต้องมีการบริหารจัดการน้ำ ในช่วงฤดูแล้งจะต้องมีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กัน ส่วนช่วงฤดูน้ำส่วนช่วงฤดูน้ำหลากก็จะต้องประเชิญกับปัญหาน้ำไหลลงสู่พื้นที่
การขุดคูคลองหรือพื้นที่กักเก็บน้ำการขุดคูคลองหรือพื้นที่กักเก็บน้ำไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัว องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จและเกิดความล่าช้า รวมไปถึงปัญหาความทับซ้อนของพื้นที่ ส่งผลให้ที่ผ่านมาการบริหารจัดการน้ำส่งผลให้ที่ผ่านมาการบริหารจัดการน้ำไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่เกษตรกรจะต้องเผชิญ ทางภาวะน้ำทางภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม
รวมไปถึงมาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้สินจากการทำรวมไปถึงมาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้สินจากการทำการเกษตร ที่ต้องการให้หน่วยงานรัฐออกมาตรการที่ชัดเจน เพื่อเป็นการลดภาระหนี้สินจากการลงทุนทำเพื่อเป็นการลดภาระหนี้สินจากการลงทุนทำการเกษตรและไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร